Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78863
Title: ผลของ 4-Hexylresorcinol ต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับเมลาโนซิสในกุ้งขาว
Other Titles: Effect of 4-Hexylresorcinol on gene expression related to melanosis in white shrimp
Authors: ศรุตา พงศ์ทองมหาคุณ
ศุภกานต์ สังข์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กุ้งขาว
เมลาโนซิส
Whiteleg shrimp
Melanosis
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กุ้งขาวเป็นสินค้าสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อธุรกิจการส่งออกของไทย เป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค การเกิดเมลาโนซิส (melanosis) หรือการเกิดจุดดำ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล ปัจจุบันมีการใช้สารยับยั้งเมลาโนซิส เช่น โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ (SMS) แต่สารกลุ่มนี้เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคบางกลุ่ม และมีการใช้สาร 4-Hexylresorcinol (4-HR) มาทดแทน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาความเกี่ยวข้องของระบบโพรฟีนอลออกซิเดสต่อการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาว โดยการศึกษาผลของสารยับยั้งเมลาโนซิส 4-HR ต่อการแสดงออกของยีนโพรฟีนอลออกซิเดส LvProPO1 และ LvProPO2และกิจกรรมของเอสไซม์ฟีนอลออกซิเดสในกุ้งขาว ผลจากการตรวจการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค semi-quantitative RT-PCR ในกุ้งที่แช่ด้วยสารยับยั้งเมลาโนซิส 4-HR (ความเข้มข้น 25 ppm) และ SMS(0.5%) ผลการทดลองพบว่าการแสดงออกของยีน LvProPO1 และ LvProPO2 มีการแสดงออไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ (P≥0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม อย่างไรก็ตามเมื่อทำการตรวจค่ากิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสในกุ้งขาว กับชุดที่ทดสอบด้วยสารยับยั้งเมลาโนซิส 4-HR และ SMS ที่ความเข้มข้น 0.01, 0.1 และ 1 mM พบว่าทุกชุดทดสอบมีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารยับยั้งเมลาโนซิส 4-HR และ SMS ไม่มีผลต่อการควบคุมการแสดงออกของยีน LvProPO1 และ LvProPO2 แต่ควบคุมกิจกรรมเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสของกุ้งขาว งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าระบบโพรฟีนอลออกซิเดสมีความสำคัญต่อการเกิดเมลาโนซิสในกุ้งขาว ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญต่อการศึกษาสารยับยั้งเมลาโนซิสเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล
Other Abstract: Pacific white shrimp is one of Thailand’s predominant exports due to its popularity. Despite its popularity, however, a harmless condition known as melanosis (dark spotting) tends to cause the value to decline. In recent years, multiple melanosis inhibitors have been developed. The first, sodium metabisulfite (SMS) has been known to cause allergic reaction and health issues in some individuals. It has been replaced by 4-Hexylresorcinol (4-HR), a less harmful alternative. This research explores the connection between prophenoloxidase and the development of melanosis in pacific white shrimp by studying the effect of 4-HR on the prophenoloxidase gene (LvProPO1 and LvProPO2) and phenoloxidase enzyme activities. By measuring the gene expression through semi-quantitative RT-PCR techniques, the shrimp treated with either 25 ppm 4-HR or 0.5% SMS showed no significant deviation in LvProPO1 and LvProPO1 presence when compared to the control specimens (P≥0.05). Regardless, the experiment did showcase a significant decrease (p<0.05) in phenol oxidase enzyme activity across all experimental subjects treated with 4-HR and SMS at 1, 0.1, and 0.01 mM concentrations when compared to the control group. These findings suggest that while melanosis inhibition substances do not affect LvProPO1 and LvProPO2 gene activity, they do directly impact phenol oxidase enzyme activity levels in pacific white shrimp. This underscores the significant impact of the phenol oxidase systems on shrimp melanosis, indicating the possibility of future studies on melanosis inhibition in the seafood industry.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78863
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-FOOD-005 - Supakarn Sung.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.