Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78865
Title: | การคัดกรองสารออกฤทธิ์ต้านการเจริญของ Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) จากสารสกัดที่แยกได้จากแหล่งธรรมชาติ |
Other Titles: | Screening of natural compounds against Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) |
Authors: | ชาญินี โกมลวิทยคุณ |
Advisors: | ชุลี ยมภักดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | การดื้อยาในจุลินทรีย์ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ Drug resistance in microorganisms Bioactive compounds |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาเชื้อดื้อยา นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของสาธารณะสุขโลก จากข้อมูลของ CDC พบว่าปัจจุบันมีเชื้อดื้อยาหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่น Carbapenem-resistant Acinetobacter , Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus , Erythromycin-resistant group A , Mycoplasma genitalium เป็นต้น โดยปัญหาเชื้อดื้อยาดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในสาเหตุหลักที่สำคัญคือ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม เชื้อ Methicillin Resistant Staphylococcus aureus ( MRSA ) เป็นหนึ่งในเชื้อดื้อยาที่สำคัญของกลุ่ม S. aureus ที่มีรายงานการดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น ก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงบริเวณบาดแผล ก่อให้เกิดการอักเสบในอวัยวะภายในหลายชนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ กระดูก หากในการติดเชื้อที่รุนแรง เช่นในกระแสเลือด อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นในการหายาที่มีประสิทธิภาพเพื่อกำจัดเชื้อดื้อยา ในปัจจุบันมีการนำยาปฏิชีวนะที่มีอยู่เดิมมาใช้ร่วมกันเพื่อเสริมการออกฤทธิ์ของยาดังกล่าว สารออกฤทธิ์ทางธรรมชาติ นับเป็นหนึ่งในทางเลือกที่นำมาแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ เพื่อ ค้นหาสารออกฤทธิ์ที่แยกได้จากแหล่งธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อดื้อยา MRSA ในงานวิจัยนี้ได้นำสารออกฤทธิ์ธรรมชาติจำนวน 19 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อ MRSA จำนวน 4 สายพันธุ์และเชื้อ S. aureus สายพันธุ์มาตรฐาน 1 สายพันธุ์ โดยวิธี Resazurin Microtiter plate Assay ( REMA ) พบสารที่สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อดื้อยาดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 7 สารจากจำนวนทั้งหมด 19 สาร ต่อจากนี้จะได้นำสารทดสอบที่ให้ผลบวกทั้ง 7 สาร มาทดสอบหาค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ (MIC) และค่าความเข้มข้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถฆ่าเชื้อทดสอบดื้อยา MRSA (MBC) เพื่อนำผล MIC ของสารที่ให้ผลบวกไปทดสอบร่วมกับยาปฏิชีวนะ clindamycin เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ร่วมกันต่อไป |
Other Abstract: | The problem of drug resistance is considered as one of the major problems of the global public health. According to CDC, there are wide varieties of resistant drugs, for example Carbapenem-resistant Acinetobacter, Methicillin Resistant Staphylococcus aureus, Erythromycin-resistant group A, Mycoplasma genitalium, etc. This problem is caused by many factors. One of the main reasons is improper use of antibiotics. Methicillin Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) is one of the major resistance of S. aureus group which are resistance to many types of antibiotics. MRSA can cause a variety of symptoms, including severe infection at wound, inflammation in many internal organs such as the heart muscle, bones. In severe infections of MRSA such as septicemia that may lead to death. Therefore it is necessary to search for a effective drugs against MRSA. Currently, existing antibiotics are used in combination to enhance the action of the drugs. Natural active compound also are considered as one of the alternative to solve this problem. This study aimed to search for bioactive compounds from natural resources that having anti-MRSA activity. In this study 19 pure compounds were tested against 4 strains of MRSA and 1 sensitive strain of S. aureus using Resazurin Microtiter plate Assay (REMA). The result showed that 7 compounds inhibited the growth of the drug resistant strains. Next, the minimal inhibitory concentration (MIC) as well as the minimal bactericidal concentration (MBC) of the candidates will be examined. Then, the combination effect between clindamycin and the selected candidates will be evaluated against MRSA. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78865 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-MICRO-006 - Chayinee Komon.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.