Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียง กาญจนวตี-
dc.contributor.authorธัญญารัตน์ กับเป็ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-20T09:29:42Z-
dc.date.available2022-06-20T09:29:42Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78887-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractกล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์ Orchidaceae มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเนื่องจากกล้วยไม้เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญ ปัญหาที่พบในสวนกล้วยไม้คือแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ บั่วกล้วยไม้ หนอนกระทู้หอม หอยทากสาลิกา และ หอยซัคซีเนีย วิธีการกำจัดหอยทากสามารถทำได้โดยการใช้สารเคมีในการควบคุม แต่ปัญหาของสารเคมีเหล่านี้ คือ มีความเป็นพิษต่อคนและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการควบคุมทางชีววิธีเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของหอยทากศัตรูพืชทำให้ลดความเสียหายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพคือการใช้ไส้เดือนฝอยที่สามารถก่อโรคในหอยทาก ไส้เดือนฝอยที่ใช้ในโครงการวิจัยนี้คือ Panagrolaimus sp. การนำไส้เดือนฝอยไปใช้จริงยังขาดข้อมูลในเรื่องของระยะเวลาที่ไส้เดือนฝอย Panagrolaimus sp. อยู่รอดในสวนกล้วยไม้ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาระยะเวลาการอยู่รอดของไส้เดือนฝอย Panagrolaimus sp. บนกล้วยไม้สกุลหวาย โดยทำการทดลอง 3 ช่วงระยะเวลาคือ 0 วัน 7 วัน และ 14 วัน เพื่อดูการอยู่รอดของไส้เดือนฝอย Panagrolaimus sp. และศึกษาหาปริมาณที่ไส้เดือนฝอยอยู่รอดในแต่ละช่วง โดยแบ่งเป็น 0, 1,000, 5,000 และ 10,000 ตัว/มล. โดยฉีดพ่นปริมาตรทั้งหมด 50 มล. จนทั่วต้นกล้วยไม้ ผลการทดลองพบว่าปริมาณไส้เดือนฝอยทั้ง 4 ความหนาแน่นพบจำนวนตัวที่อยู่รอดในช่วงระยะเวลา 0 วัน ได้แก่ 0 ตัว/มล. พบ 0±0.00 ตัว, 1,000 ตัว/มล. พบ 4,916±106.07 ตัว, 5,000 ตัว/มล. พบ 10,650±176.78 ตัว และ 10,000 ตัว/มล. พบ 17,416±35.14 ตัว ในช่วงระยะเวลา 7 วัน ได้แก่ 0 ตัว/มล. พบ 0±0.00 ตัว, 1,000 ตัว/มล. พบ 967±47.13 ตัว, 5,000 ตัว/มล. พบ 1,850±82.48 ตัว และ 10,000 ตัว/มล. พบ 3,000±23.58 ตัว คิดเป็นร้อยละ 0.00±0.00, 18.31±0.61, 18.47±0.28 และ 11.29±0.20 ของช่วงระยะเวลา 0 วันตามลำดับ ซึ่งมากกว่าช่วงระยะเวลา 14 วัน ได้แก่ 0 ตัว/มล. พบ 0±0.00 ตัว, 1,000 ตัว/มล. พบ 600±47.23 ตัว, 5,000 ตัว/มล. พบ 767±141.27 ตัว และ 10,000 ตัว/มล. พบ 1,533±282.94 ตัว คิดเป็นร้อยละ 0.00±0.00, 12.20±0.61, 7.20±0.28 และ 8.80±0.20 ของช่วงระยะเวลา 0 วัน ตามลำดับ ความหนาแน่นไส้เดือนฝอยที่มีร้อยละความอยู่รอดมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลา 0 วัน คือ ที่ความเข้มข้น 1,000 ตัว/มล. และ ช่วงระยะเวลาที่ไส้เดือนฝอยอยู่รอดมากที่สุด คือ 7 วัน และ ทำการศึกษาระยะการเจริญเติบโตและการตายของไส้เดือนฝอยในแต่ระยะเวลาทุกความเข้มข้น พบว่า ในช่วงระยะเวลา 0 วัน พบไส้เดือนฝอยระยะเข้าทำลายมากที่สุด ช่วงระยะเวลา 7 วัน และ 14 วัน พบไส้เดือนฝอยระยะอื่นมากที่สุด และ ไส้เดือนฝอยที่ตายมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกความเข้มข้นเมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น และ สูงสุดที่ช่วงระยะเวลา 14 วันen_US
dc.description.abstractalternativeOrchids are monocots of the Orchidaceae family. Orchids are economically important because it is one of the important export products of Thailand. Agricultural losses in orchid farms are caused by pests such as thrips, pests, orchids, cutworms, snails and slugs. To control snail, chemical pesticides are used, but they are toxic to humans and affect the environment. Therefore, biological control is another option that helps prevent and control snail infestations, reducing the damage and impact on the environment and farmer’s health. The biological control of plant diseases in this study used the Panagrolaimus sp. There are pathogenic nematodes in snails. The use of nematodes lacks information on the survival times of Panagrolaimus sp. in orchids. This research aimed to study the survival period of Panagrolaimus sp. nematodes on Dendrobium. 0 days, 7 day and 14 days after nematode inoculation were selected for measuring the survival of Panagrolaimus sp. nematodes. 50 ml of 0, 1,000, 5,000 and 10,000 nematodes/ml suspensions were sprayed all over the orchid plants. The results showed that the survival at 0 day of four nematode concentrations were as followed. At 0, 1,000, 5,000 and 10,000 nematodes/ml concentrations, 0±0.00, 4,916±106.07, 10,650±176.78 and 17,416±35.14 nematodes were found, respectively. The survival at 7 days of four nematode concentrations were as followed. At 0, 1,000, 5,000 and 10,000 nematodes/ml concentrations, 0±00, 967±47.13, 1,850±82.48 and 3,000±23.58 nematodes were found, respectively. When compared with nematode concentrations at 0 day, the percentage of survived nematodes were 0.00±0.00, 18.31±0.61, 18.47±0.28 and 11.29±0.20%, respectively. The survival at 14 days of four nematode concentrations were as followed. At 0, 1,000, 5,000 and 10,000 nematodes/ml concentrations, 0±0.00, 600±47.23, 767±141.27, 1,533±282.94 nematodes were found, respectively. When compared with nematode concentrations at 0 day, the percentage of survived nematodes were 0.00±0.00, 12.20±0.61, 7.20±0.28 and 8.80±0.20%, respectively. The highest percentage of survived nematodes compared to the nematode concentrations at 0 day is 1,000 nematodes/ml. The highest percentage of survived nematodes compared to the period of nematode at 0 day is 7 days. The study of developmental stage and mortality of nematode showed that the infective larvae were mostly found at 0day. Other larva stages apart from adults and infective larvae were mostly found at 7 and 14 days. The average mortality rate of nematodes increased in a concentration and time dependent manner and peaked at 14 days.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกล้วยไม้ -- โรคและศัตรูพืชen_US
dc.subjectไส้เดือนดินen_US
dc.subjectOrchids -- Diseases and pestsen_US
dc.subjectEarthwormsen_US
dc.titleช่วงระยะเวลาการอยู่รอดของไส้เดือนฝอย Panagrolaimus sp. บนกล้วยไม้ Dendrobiumen_US
dc.title.alternativeThe survival period of Panagrolaimus sp. nematodes on Dendrobium orchidsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-BIO-009 _ Thanyarat Kubpeng.pdf29.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.