Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78910
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ ภัยหลบลี้-
dc.contributor.authorกันยกร ประเสริฐวิริยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-22T06:14:14Z-
dc.date.available2022-06-22T06:14:14Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78910-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractปริมาณน้ำฝน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในทางอุตุนิยมวิทยา โดยหากมีปริมาณน้ำฝนที่ มากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยตามมาได้ โครงงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ กระจายตัวเชิงพื้นที่ของปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและเตรียมตัว รับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝน กับจำนวนหรืออัตราการเกิดปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านสมการการกระจายตัวเชิงความถี่และ ขนาดของเหตุการณ์ (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า สมการกู เต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ซึ่งสามารถวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ ของค่า a และค่า b ได้ โดยบริเวณที่มีค่า a ต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีอัตราการเกิดโดยรวมของปริมาณน้ำฝน ต่ำ และบริเวณที่มีค่า b ต่ำ บ่งบอกได้ว่ามีโอกาสเกิดความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนสูงมากกว่าความ เข้มข้นของปริมาณน้ำฝนเบา ซึ่งสามารถน้ำไปวิเคราะห์หา (1) ความเข้มข้นสูงสุดของปริมาณน้ำฝน (2) คาบอุบัติซ้ำ และ (3) โอกาสในการเกิดปริมาณน้ำฝนต่อไป โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของ ปริมาณน้ำฝน ได้แก่ ลมมรสุม พายุหมุนเขตร้อน และการวางตัวของเทือกเขา โดยความเข้มข้นของ ปริมาณน้ำฝนที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีคาบอุบัติซ้ำในการเกิดมากขึ้น และบริเวณที่มีคาบอุบัติซ้ำต่ำ แสดงถึง มีอัตราการเกิดปริมาณน้ำฝนสูง และปริมาณน้ำฝนที่ความเข้มข้นต่ำนั้น จะมีโอกาสเกิดปริมาณน้ำฝน เกือบ 100% ในขณะที่ความเข้มข้นสูงมีโอกาสเกิดปริมาณน้ำฝนแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ และปัจจัยดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ ยังได้ทำการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝน (มิลลิเมตร) และเวลา (ปี) ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่า ปริมาณน้ำฝนมีการผันแปรตามฤดูกาล (Seasonal Variation) โดยบริเวณที่มีความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนสูง ได้แก่ ภาคตะวันออก แถบตะวันออกสุด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดระนอง และจังหวัด พังงา ในขณะที่บริเวณที่มีความเข้มข้นของปริมาณน้ำฝนต่ำ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และฝั่งตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.description.abstractalternativeRainfall amounts are one of the most important meteorological factors. If there is an excess of rainfall, it may cause flooding. The objective of this project is to study the spatial distribution of rainfall amounts in Thailand in order to prevent and prepare for disaster that may arise. There is studying a relationship between the intensity of rainfall amounts and the number or rate of rainfall amounts during the different period through Frequency-Magnitude Distribution (FMD), also known as Gutenberg-Richter Relationship, which can analyze spatial distribution of a and b value. Low a value area indicates a low cumulative rate of rainfall amounts. Low b value area indicates that there is the probability of occurrence of heavy rain more than drizzle. It can analyzes (1) Maximum Intensity (2) Return Period, and (3) Probability of Occurrence. The factors affecting the intensity of rainfall amounts are monsoon, tropical cyclone and position of mountains. Higher intensity of rainfall amounts result the longer return period. Area with short return periods has a high incidence rate of rainfall amounts. The low intensity of rainfall amounts have an almost 100% of probability of occurrence whereas the high intensity have a different probability of occurrence which depends on topography and aforementioned factors. Besides, there is creating the relationship between rainfall amounts (millimeters) and time (years) which indicates seasonal variation. Area with high intensity of rainfall amounts is in East region, East of Northeast region and South region especially Ranong province and Phang-Nga province while area with low intensity of rainfall amounts is in the North region, West region, Central region, and West of Northeast region.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยากรณ์ฝน -- ไทยen_US
dc.subjectน้ำฝน -- การวัดen_US
dc.subjectRainfall probabilities -- Thailanden_US
dc.subjectRainwater -- Measurementen_US
dc.titleการศึกษาปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย : การกระจายตัวเชิงพื้นที่en_US
dc.title.alternativeInvestigation of rainfall amounts in Thailanden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-GEO-002 - Kanyakorn Prasertwiriya.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.