Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจตุรงค์ พุทธพรทิพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-23T03:50:59Z-
dc.date.available2022-06-23T03:50:59Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78925-
dc.description.abstractโปรตีนบนผิวของระยะเมอร์โรซอยต์ชนิดที่ 3 ของเชื้อมาลาเรีย (MSP3) เป็นโปรตีนที่ความสำคัญในการนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรีย MSP3 ของ Plasmodium vivax ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มของยีน 12 ชนิดทีมีชื่อเรียงตามตัวอักษรคือ PvMSP-3A ถึง PvMSP-3I โครงสร้างของ PvMSP3 family ประกอบไปด้วยบริเวณที่มีความคล้ายกันในบริเวณ N- และ C-termini โดยส่วนกลางของโปรตีนบางชนิดประกอบด้วยบริเวณที่มีกรดอะมิโน alanine เป็นองค์ประกอบจำนวนมากในระยะห่างที่ชัดเจน ทำให้โปรตีนเหล่านี้มีโครงสร้างเป็นขดเกลียวหลายรอบ (coiled-coil motif) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความหลากหลายของกลุ่มยีน PvMSP3 family ของตัวอย่างเชื้อ Plasmodium vivax ที่พบติดเชื้อตามธรรมชาติ และเพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการตรวจพบแอนติบอดีชนิด IgG ต่อโปรตีนลูกผสมที่สร้างขึ้นจากโปรตีนในกลุ่มนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วย (i) การวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน PvMSP3-D2 (n=120), PvMSP3-E2 (n=120), PvMSP3-F2 (n=120), PvMSP3-G (n=120) และ PvMSP3-I (n=120) ของตัวอย่างเชื้อ Plasmodium vivax ที่เก็บจากจังหวัดตาก จันทบุรี อุบลราชธานี และยะลา และ(ii) ระดับแอนติบอดีชนิด IgG ต่อโปรตีนลูกผสมในกลุ่มยีนนี้ของตัวอย่างเซรั่มของผู้ที่ติดเชื้อ Plasmodium vivax ในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 734 ตัวอย่าง ในบรรดายีนทั้ง 5 ชนิดที่รายงานการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า PvMSP3-F2 เป็นยีนที่มีหลายรูปแบบมากที่สุดโดยมีค่า nucleotide diversity เท่ากับ 0.11251 ตามด้วย PvMSP3-D1, PvMSP3-E2 ส่วนยีน PvMSP3-G และ PvMSP3-I มีความหลากหลายน้อยที่สุดในบรรดายีนในกลุ่มนี้คือมีค่า nucleotide diversity อยู่ในช่วง 0.01169 ถึง 0.01001 ส่วนค่า nucleotide diversity ของยีน PvMSP3-D2, PvMSP3-E2, PvMSP3-F2, PvMSP3-G and PvMSP3-I มีค่าเท่ากับ 0.09661, 0.07923, 0.11251, 0.01169 และ 0.01001 ตามลำดับ แม้ว่ายีน PvMSP3-G และ PvMSP3-I จะมีความหลากหลายต่ำแต่กลับพบรูปแบบของ haplotype ทั้งหมด 56 และ 46 haplotypes แสดงให้เห็นว่ายีนชนิดนี้มีความแตกต่างในระดับลำดับเบสแบบกระจัดกระจาย ระดับของความหลากหลายของ haplotype สำหรับยีนในกลุ่มนี้ทั้ง 5 ชนิดมีค่าอยู่ในช่วง 0.943 ถึง 1.000 แสดงให้เห็นถึงมีการแพร่กระจายของ haplotype ของแต่ละยีนทั้ง 5 ชนิดทั่วไปในพื้นที่ที่มีการตรวจพบเชื้อมาลาเรียในการศึกษาครั้งนี้ สำหรับการศึกษาการสร้างโปรตีนลูกผสมที่มีขนาดความยาวครอบคลุมส่วนของบริเวณที่มีการแสดงออกของโปรตีนของกลุ่มยีน PvMSP3 โดยหลังจากการเตรียมโปรตีนเหล่านี้ให้บริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นแอนติเจนในการศึกษาการตอบสนองของ IgG แอนติบอดีด้วยวิธี ELISA ผลการศึกษาปริมาณของ IgG ต่อ PvMSP3-B, PvMSP3-D1, PvMSP3-F1, PvMSP3-F2 และ PvMSP3-H แอนติเจน จากตัวอย่างเซรั่มของผู้ที่ติดเชื้อ Plasmodium vivax จำนวน 734 ตัวอย่าง พบว่าอัตราการตรวจพบภูมิคุ้มกันที่มีต่อแอนติเจนเหล่านี้มีปริมาณร้อยละ 33.38, 46.45, 48.36, 38.42 และ 47.54 ตามลำดับ สิ่งที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติต่อแอนติเจนนี้ประกอบด้วยทั้งที่เป็นแบบเฉพาะต่อรูปแบบของอัลลีล และแอนติบอดีที่สามารถทำปฏิกิริยากับเชื้อทุกสายพันธุ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณทั้งส่วนที่มีความหลากหลายต่ำและสูงของโปรตีนชนิดนี้ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นจากการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมในยีนทั้ง 5 ชนิดของกลุ่มยีน PvMSP3 จากตัวอย่างในประเทศไทย ในขณะที่การศึกษาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติพบว่ามีการตรวจพบระดับของ IgG แอนติบอดีสูงขึ้นในช่วงที่มีการติดเชื้อ Plasmodium vivax นอกจากนี้ความหลากหลายของลำดับเบสที่สามารถพบได้สูงในยีน PvMSP3 บางชนิดนั้นสามารถใช้เป็นตัวติดตามระดับโมเลกุลเพื่อใช้ในการจำแนกสายพันธุ์ของ เชื้อ Plasmodium vivax และการตรวจพบว่ามีแอนติบอดีต่อโปรตีนลูกผสมของ PvMSP3 ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับเชื้อในทุกสายพันธุ์ได้นั้นก็เป็นส่วนสนับสนุนอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Plasmodium vivaxen_US
dc.description.abstractalternativeThe merozoite surface protein 3 of malaria parasites (MSP3) is a leading candidate for malaria vaccine development. In Plasmodium vivax, MSP3 is encoded by a multigene family consisting of 12 gene members, designated alphabetically as PvMSP-3A to PvMSP-3I. The general structure of PvMSP3 contains N-terminal conserved region, the central alanine-rich region forming coiled-coil motifs and conserved C-terminal domain. The objectives of this study are to investigate the extent of sequence diversity of this gene family among natural P. vivax isolates and to determine the IgG antibody responses to the recombinant proteins derived from these genes. Here, we report on the outcomes of this study that include (i) sequence analysis of PvMSP3-D2 (n=120), PvMSP3-E2 (n=120), PvMSP3-F2 (n=120), PvMSP3-G (n=120) and PvMSP3-I (n=120) among P. vivax isolates collected from Tak, Chantaburi, Ubon Ratchathani and Yala provinces, and (ii) IgG antibody responses to the recombinant proteins corresponding to these gene members among P. vivax-infected patients in Ubon Ratchathani provinces (n=734). Of 5 gene members analyzed, PvMSP3-F2 was the most polymorphic locus in which nucleotide diversity was 0.11251, followed by PvMSP3-D2, PvMSP3E2, while PvMSP3-G and PvMSP3-I were relatively more conserved than other gene members (nucleotide diversity ranged from 0.01169 to 0.01001). The nucleotide diversity of PvMSP3-D2, PvMSP3-E2, PvMSP3-F2, PvMSP3-G and PvMSP3-I was 0.09661, 0.07923, 0.11251, 0.01169 and 0.01001, respectively. Despite low level of sequence diversity, 56 and 46 haplotypes of PvMSP3-G and PvMPS3-I were observed among isolates, implying microheterogeneity of sequences in these gene members The levels of haplotype diversity of these 5 gene members ranged from 0.943 to 1.000, suggesting rather even distribution of haplotypes for each of these gene members circulating in these endemic areas. The recombinant proteins spanning the near complete coding regions of these genes were produced. After purification, these proteins were used as antigens for determination of specific IgG antibodies by enzyme-linked immunosorbent assay. Results from analysis of IgG antibodies to PvMSP3-B, PvMSP3-D1, PvMSP3-F1, PvMSP3-F2 and PvMSP3-H antigens among 734 P. vivax-infected plasma samples has shown that the seropositive rates for these antigens were 33.38%, 46.45%, 48.36%. 38.42% and 47.54%, respectively. Importantly, naturally acquired against these antigens contained both allele-specific and strain-transcending antibodies, implying that both conserved and variable domains in these proteins were immunogenic. Therefore, differential genetic diversity was observed among 5 gene members in PvMSP3 among Thai isolates while naturally acquired IgG antibodies were relatively prevalent during acute P. vivax infections. Extensive sequence diversity in some PvMSP3 gene members could serve as molecular markers for differentiation of P. vivax strain while the presence of strain-transcending antibodies against PvMSP3 recombinant proteins has encouraged vaccine development against P. vivax infections.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2559-2560en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลาสโมเดียมไวแวกซ์ -- ไทย-
dc.subjectมาลาเรีย -- ไทย-
dc.titleงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความหลากหลายพันธุกรรมและความสามารถในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของโปรตีนทั้ง 12 ชนิดในกลุ่มโปรตีนบนผิวเมอร์โรซอยต์ชนิดที่ 3 ของพลาสโมเดียมไวแวกซ์จากผู้ติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeการวิเคราะห์ความหลากหลายพันธุกรรมและความสามารถในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของโปรตีนทั้ง 12 ชนิดในกลุ่มโปรตีนบนผิวเมอร์โรซอยต์ชนิดที่ 3 ของพลาสโมเดียมไวแวกซ์จากผู้ติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Med_Chaturong Putaporntip_2019.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.