Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์ | - |
dc.contributor.author | ธีร์จุฑา จรัสโยธินนุวัฒน์, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-27T04:36:40Z | - |
dc.date.available | 2006-05-27T04:36:40Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745313726 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจประสบการณ์ของผู้ประสบเหตุการณ์ไฟไหม้ในชุมชน เขตบางยี่ขัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์นิยมเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจประสบการณ์ความสะเทือนใจของผู้ประสบเหตุการณ์ไฟไหม้ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเชิงลึกและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน (ชาย 4 หญิง 4) จาก 5 ครอบครัวและผู้ให้ข้อมูลประกอบที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์อีกจำนวนหนึ่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและบริบท จากบทสัมภาษณ์และข้อมูลภาคสนามเพื่อสร้างข้อสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ในระหว่างเหตุการณ์ไฟไหม้ ผู้ประสบเหตุการณ์รับรู้ความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประเมินว่าอยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้หรือไม่ และตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยใช้กลไกการป้องกันตัวทางจิตเพื่อเผชิญความตกใจ ความหวาดกลัวและความเครียดที่เกิดขึ้น ในแง่ของพฤติกรรมผู้ประสบเหตุการณ์ไฟไหม้มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้วยการวิ่งหนีหรือต่อสู้ บางรายที่ยังครองสติอยู่ได้มีพฤติกรรมการตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตที่เหมาะสมจากการใคร่ครวญ 2) ภายหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ ผู้ประสบเหตุการณ์ต้องพบกับความสูญเสียทำให้ตกอยู่ในภาวะสะเทือนใจ อันส่งผลต่อสภาพทางกายและจิตใจ บรรยากาศในครอบครัวยังเปลี่ยนแปลงไปจากความสะเทือนใจที่สมาชิกในครอบครัวต้องเผชิญ แต่พบการช่วยเหลือกันและร่วมมือกันมากขึ้น 3) ผู้ประสบเหตุการณ์ไฟไหม้ใช้วิธีการเผชิญกับปัญหาแบบต่างๆ เพื่อทำให้ตนเองฟื้นตัวจากความสะเทือนใจ ได้แก่ การปฏิเสธ การใช้คำอธิบายเรื่องกรรม การหาสิ่งยึดเหนี่ยวใจ ความช่วยเหลือทางสังคม การคิดในทางบวก และการฝึกจิตใจ ทำให้ฟื้นตัวจากความสะเทือนใจ โดยยอมรับผลของเหตุการณ์ อยู่กับปัจจุบัน สร้างความหมายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น และเกิดการเรียนรู้จากการได้ผ่านเหตุการณ์วิกฤต การอภิปรายผลกล่าวถึงวัฏจักรและผลกระทบของเหตุการณ์ไฟไหม้ วิธีการเผชิญปัญหา และการฟื้นตัวภายในครอบครัว ในท้ายที่สุดได้ กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ในงานการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในการวิจัยต่อไป และในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต | en |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to examine the traumatic experiences of the fire victims residing in a community of Bang-Yi-Khan district during the fire. The qualitative research and inquiry method was the means to access and explore the experiences from the emic view. Data collection was conducted via open-ended semi-structure interview with 8 key informants and complementary interviewees for additional data. Content and context analyses were used for data analyzing. Themes were grouped into 3 categories: Pre-post experiences; coping; and trauma recovery. The major findings include: 1) During the fire, the victims perceived the situation as threat and assessed their ability to control. In dealing with shock, panic and stress, various defense mechanisms; coping; and fight-flight reaction were reported. Some victims, able to maintain their consciousness, properly responded to the crisis. 2) After fire, loss caused traumatic experiences among the victims resulting in physical and mental changes. Changes in families were noticeable, i.e, stressful atmosphere; but more harmony and support was found. 3) The victims used several coping strategies to gain their equilibrium and recovery, i.e., reality acceptance, being at presence, learning from crisis, and realizing meaningful part of experiences. Final conclusion and discussion focused on the cycle of the fire and its impacts, the prominent issues on coping strategies and recovery. Suggestions on implications in counseling, future researches and crisis intervention were presented | en |
dc.format.extent | 1179147 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความผิดปกติทางจิตหลังภัยพิบัติ | en |
dc.subject | ความวิตกกังวล | en |
dc.title | ประสบการณ์ความสะเทือนใจของผู้ประสบเหตุการณ์ไฟไหม้ : กรณีศึกษาชุมชนในเขตบางยี่ขัน | en |
dc.title.alternative | Traumatic experience of the fire victims : a case study of a community in Bang-Yi-Khan district | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | kannikar.N@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tierajutha.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.