Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79066
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาวรรณ เรืองศิลป์ | - |
dc.contributor.author | นพปฎล กิจไพบูลทวี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-01T03:39:08Z | - |
dc.date.available | 2022-07-01T03:39:08Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79066 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ของการสร้างความเป็นไทยผ่านงานเขียนเกี่ยวกับการเดินทางของชนชั้นนำไทยในช่วงทศวรรษ 2440 ถึงทศวรรษ 2500 โดยมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเดินทาง วิธีวิทยา และบริบททางประวัติศาสตร์ของผู้เขียน การศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างความเป็นไทยของชนชั้นนำไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการผสมผสานระหว่างวาระทางการเมืองและเศรษฐกิจ การประมวลความรู้ที่สั่งสมอยู่ก่อน กับการใช้ข้อมูลที่ได้จากการมีประสบการณ์เชิงประจักษ์จากการเดินทาง วิทยานิพนธ์ให้ความสำคัญกับงานเขียนที่เกี่ยวกับการเดินทางในฐานะเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างความเป็นไทยทั้งในแง่ของการสร้างคำนิยามและการกระจายความรู้ ผลจากการศึกษาพบว่า ชนชั้นนำประกอบสร้างความเป็นไทยอย่างสัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนไปใน 4 ช่วงเวลา ได้แก่ (1) ช่วงทศวรรษ 2440 ถึงทศวรรษ 2470 เมื่อชนชั้นนำต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากับภาวะความเป็นสมัยใหม่และต้องการธำรงสิทธิธรรมในการปกครอง จึงพยายามใช้ประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาค้นหาและยืนยันที่มาของความเป็นไทยในประเทศ (2) ช่วงทศวรรษ 2460 ถึงทศวรรษ 2470 การเติบโตของทุนนิยมและปัญหาทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ชนชั้นนำต้องการสำรวจทรัพยากรและศักยภาพทางเศรษฐกิจทั่วประเทศ กสิกรรมถูกนำเสนอภาพไม่เพียงในฐานะกิจกรรมสำคัญที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย แต่ยังถูกยกย่องในฐานะเครื่องแสดงอัตลักษณ์ของความเป็นไทยที่มาจากการสั่งสมภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ (3) ช่วงทศวรรษ 2470 ถึง ทศวรรษ 2480 ด้วยบริบทการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการพิพาทเชิงดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชนชั้นนำกลุ่มใหม่หันมาใช้แนวคิดเรื่องเชื้อชาติอธิบายความเป็นไทย ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเดินทางไปค้นหากลุ่มคนเชื้อชาติไทยนอกประเทศ และถูกใช้ในการเรียกร้องดินแดนคืนจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก (4) ช่วงทศวรรษ 2490 ถึงทศวรรษ 2500 รัฐบาลปรับเปลี่ยนการอธิบายความเป็นไทยจากที่ยึดโยงกับแนวคิดเรื่องเชื้อชาติมาเป็นวัฒนธรรมไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัว อันเป็นผลจากการปรับตัวให้เข้ากับระเบียบโลกหลังสงคราม ความต้องการลดความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน และการลดแรงเสียดทานจากขบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์และแบ่งแยกดินแดนในประเทศ ความเป็นไทยถูกนำเสนอบนฐานของ “เอกภาพทางวัฒนธรรมบนความหลากหลาย” | - |
dc.description.abstractalternative | This dissertation aims to write a history of the construction of Thainess through studying the travel writing of the Thai elite in the 1890s to 1950s. It examines the relations between travel experience, methodology, and historical contexts of the authors. The study finds that the process of constructing Thainess by the elite in this period was a combination of the political and economic agendas, reference to the pre-existing knowledge, and use of empirical data obtained from traveling. As a point of departure of this dissertation, travel writing is one of the most important tools for constructing Thainess both in terms of creating definitions and disseminating knowledge. The findings of the study suggest that the elite contributed to the construction of Thainess in relation to four historical contexts. (1) the 1890s-1920s: when the challenges of modernity threatened their legitimacy to rule, the traditional elite relied on history and archaeology to research and establish the origins of the Thais and make a righteous claim over the land and the people. (2) the 1910s-1920s: the rise of capitalism and the post-World War I economic problems required the elite to explore resources and economic potential across the country. Agriculture was portrayed not only as the most important activity in Thai economic development. But it was also regarded as a symbol of Thainess that resulted from the accumulation of ancestral wisdom. (3) the 1920s-1930s: in the context of the 1932 regime change and territorial disputes with neighboring countries during World War II, new elites turned to embrace the concept of race to define Thainess. This attitude encouraged the travel to explore the “Thai race” outside the country and was used to claim back territories from the Western colonial powers. (4) the 1940s-1950s: the Thai government dropped the concept of race and adopted the uniqueness of Thai culture to define Thainess. This shift occurred as a result of Thailand’s adaptation to the new world order, the need to avoid conflicts with neighboring countries, and to counter the advance of the communist and separatist movements within the country. Thainess was now presented on the basis of "cultural unity on diversity". | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.735 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ชนชั้นนำ -- ไทย | - |
dc.subject | การเดินทาง | - |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- 2440-2550 | - |
dc.subject | Elite (Social sciences) -- Thailand | - |
dc.subject | Voyages and travels | - |
dc.subject | Thailand -- History -- 1890-1950 | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | งานเขียนเกี่ยวกับการเดินทางของชนชั้นนำกับการสร้างความเป็นไทย ทศวรรษ 2440 – ทศวรรษ 2500 | - |
dc.title.alternative | Travel writing of Thai elite and the construction of Thainess, 1890s-1950s | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.735 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5880502022.pdf | 6.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.