Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79127
Title: กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระหว่างพ.ศ.2563-2564 กรณีศึกษา ธุรกิจที่พักแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี
Other Titles: Adaptation strategies to COVID-19 crisis of hospitality business operated with the sufficiency economy philosophy during 2020-2021 : case study of the business trained by Porlaewdee program
Authors: อัตพร ปุยอ๊อก
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: ที่พักนักท่องเที่ยว -- การจัดการธุรกิจ
เศรษฐกิจพอเพียง
Tourist camps, hostels, etc. -- Business management
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการปรับตัวของธุรกิจที่พักแรม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พักโดยตรง งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากที่พักแรมที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการคัดเลือกธุรกิจที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 11 แห่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการบริการได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท และโฮสเทล โฮมสเตย์ โดยได้รวบรวมข้อมูลแนวทางการดำเนินงานและการปรับตัว มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจที่พักแรม ผลการศึกษาพบว่า 1) จุดเริ่มต้นการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในธุรกิจที่พักแรมมีเหตุผลหลัก คือ เพื่อให้รู้จักตัวตนและเป้าหมายของตนเอง และ การทำธุรกิจเพื่อแบ่งปันสู่ผู้อื่น 2) ในช่วงภาวะปกติ ธุรกิจให้ความสำคัญกับหลักพอประมาณ ทำธุรกิจพอเหมาะกับเป้าหมาย ไม่เน้นทำกำไรสูงสุด และเริ่มต้นจากจุดแข็งของตนเองที่มีอยู่ โดยโรงแรมและรีสอร์ทมีการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลายมิติมากที่สุด เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากกว่า 3) ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจที่พักได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วงการระบาดระลอกที่ 1 เนื่องจากต้องปิดกิจการชั่วคราวมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัดส่วนรายได้ และการบริหารงานภายใน โดยที่พักประเภทโฮสเทล-โฮมสเตย์ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือ รีสอร์ท และ โรงแรมตามลำดับ 4) ในช่วงภาวะวิกฤตพบการใช้กลยุทธ์การที่สำคัญ คือกลยุทธ์ด้านการตลาดและการสื่อสาร เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มรายได้ ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวที่เน้นสร้างรายได้ทดแทนและลดรายจ่าย สอดคล้องกับหลักของการสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน โดยโรงแรมและรีสอร์ทยังคงเป็นที่พักที่มีการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากที่สุด เนื่องมาจากมีความพร้อมในด้านทรัพยากรมากกว่าโฮสเทล -โฮมสเตย์ 5) ผลการดำเนินงานในด้านอัตราการเข้าพัก รีสอร์ทมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบรายได้ที่เกิดขึ้นพบว่าโฮสเทล-โฮมเสตย์และรีสอร์ท บางช่วงมีผลกำไรเกิดขึ้น ในขณะที่โรงแรม แม้ว่าจะไม่สามารถสร้างผลกำไรเช่นเดียวกับที่พักอีก 2 ประเภท แต่ยังสามารถประคองธุรกิจและต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักแรมร่วมกับแนวคิดกลยุทธ์การจัดการที่พัก โดยสามารถนำมาใช้อย่างบูรณาการร่วมกันทั้ง 3 หลักการ 2 เงื่อนไข ซึ่งมีหลักการปฏิบัติสำคัญสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญเด่นชัดในด้านสังคม ผ่านการทำธุรกิจที่แบ่งปันรายได้สู่ธุรกิจชุมชนท้องถิ่น ซึ่งพบว่าประเภทของที่พักแรม มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและกลยุทธ์การปรับตัว อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะวิกฤตพบว่าธุรกิจที่พักส่วนใหญ่ สามารถประคองธุรกิจที่พักและเอาตัวรอดได้จากการใช้กลยุทธ์ด้านการเงินและการตลาด ควบคู่กับหลักของภูมิคุ้มกันด้านการเงินและสังคม อีกทั้งยังยึดไว้ซึ่งหลักพอประมาณ ที่ทำธุรกิจอย่างไม่เกินกำลัง ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่มาก ส่งผลให้ที่พักแรมมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น จากผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ในการสร้างธุรกิจที่พักแรมได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
Other Abstract: The sufficiency economy philosophy is the philosophy which promotes sustainable development. It is one of the adaptation strategies to solve the problem of the hospitality business in a crisis situation, especially during the epidemic of COVID-19 which affects the hospitality business directly. This research aims to study the hospitality businesses which are operated under the sufficiency economy philosophy and their subsequent adaptation strategies during the Covid 19 crisis.The selected case studies are 11 hospitality businesses from The Porlaewdee project, which support the sufficiency economy philosophy. The selected 11 hospitality businesses could be grouped to three types: hotel, resort, and hostel-homestay. The data about operations and adaptation strategies from the selected case studies were analyzed and compared to uncover methods of applications of the sufficiency economy philosophy to hospitality businesses during this crisis situation. The findings from this study are as follows: 1) Self-awareness and business shared value are main reasons of applying the sufficiency economy to hospitality businesses. 2) During the normal situation, the hospitality businesses operate under the principle of moderation by focusing on doing business that is suitable for their goals and managing from their strengths. In addition, hotels and resorts use a greater variety of strategies from the principle of sufficiency economy than hostels and homestays because the business model of hotels and resorts are more complex. 3) During the crisis, hospitality businesses were most affected during the first wave because of temporary closures which affected income ratio and internal management. In addition, hostels and homestays were most affected, followed by resorts and hotels. 4) During the crisis, marketing and communication strategies play an important role to attract customers and increase revenue along with cost management strategies. This means the adaptation that focused on generating income and reducing expenses according to the principle of financial immunity. Hotels and resorts use various strategies when compared with hostels and homestays because hotels and resorts have more resources than hostels and homestays. 5) For the performance of occupancy rates, resorts have the highest average. Moreover, the income of hostels-homestays and resorts have profits while hotels were not profitable; however, hotels could still operate and expand their businesses. This research demonstrates that the sufficiency economy philosophy can be applied to real estate businesses especially hospitality businesses along with hospitality management strategies which can be integrated with 3 principles and 2 conditions. Their concepts are according to sustainable development by focusing on social and economic factors, especially business shared values. Furthermore, it can be found that the type of hospitality business relates with the diversity in the application of sufficiency economy and adaptation strategies. However, most hospitality businesses could survive during the crisis by using financial and marketing strategies along with considering financial immunity and the principle of moderation, which operate their businesses based on their potential. Therefore, costs and liabilities were low. These are the keys to being flexible during a crisis situation. These findings will be of benefit to the entrepreneur who operates a hospitality business with the sufficiency economy philosophy and creates a sustainable hospitality business in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79127
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.526
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.526
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370061325.pdf10.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.