Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7927
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.authorสรัตนี แก้วคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-09-01T04:30:32Z-
dc.date.available2008-09-01T04:30:32Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741418981-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7927-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ข้อค้นพบเกี่ยวกับบทบาทและสภาพการดำเนินงาน ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 2) วิเคราะห์คุณภาพของงานวิทยานิพนธ์ และศึกษา ตัวแปร คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อคุณภาพ ของงานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ครั้งนี้ คือวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทและ สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ โปรแกรม SPSS for windows version 13.0 ผลการวิจัย สรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. คุณภาพของวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทั้ง 50 เล่ม มีคุณภาพ ระดับดี มีคะแนนคุณภาพอยู่ใน ช่วง 2.20-3.68 พบว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย ระเบียบ วิธีวิจัย และเกณฏฑ์การคัดเลือก กลุ่มตัวอย่าง มีคุณภาพระดับดีมาก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ การสรุปและ อภิปรายผลและการนำเสนอรายงาน อยู่ในระดับดี และกรอบแนวคิดในการทำวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยสามารถ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพงานวิทยานิพนธ์ได้ร้อยละ 95.6 โดยมีจำนวนหน้างานวิจัย ตัวแปรดัมมี่ศึกษาที่ภาคกลาง จำนวนครึ่งมือที่ใช้ในการการวิจัย และ การวิเคราะด้วยสถิติเชิงบรรยาย อธิบายได้อย่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานดำเนินงานตามบทบาททั้ง 12 บทบาทที่ดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 1) บทบาท ด้านการส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กทุกคน ในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน 2) บทบาทด้านเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจน ประสานงานองค์กรทั้งภาพรัฐและเอกชนเพื่อให้ สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนใน การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น 3) บทบาทด้านให้ ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของ สถานศึกษาก่อนเสนอต่อสาธารณชน และ 4) บทบาทด้านปฏิบัติอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ต้นสังกัดของสถานศึกษา นอกจากนี้ พบว่า การปฏิบัติงานใน พ.ศ.2547 มีระดับการปฏิบัติงานสูงสุดเมื่อ เทียบกับการปฏิบัติงานในช่วงปี พ.ศ.2544-พ.ศ.2546 การดำเนินงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มาจากกลุ่มผู้แทนครูมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มผู้แทนอื่นๆ โดยเฉพาะบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย 3.ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานชองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1)การมีถิ่นกำเนิดในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ 2)ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการกับผู้บริหารและครู 3)เวลา 4)ฐานะทางเศรษฐกิจ 5)ความประพฤติของผู้บริหาร 6)ชื่อเสียงของโรงเรียนและ 7)การให้ความสำคัญต่อการศึกษาของผู้นำชุมชน 4. ปัญหาหรืออุปสรรคที่ส่งผลกระทบในการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1)คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของโรงเรียน 2)ผู้บริหารไม่มีแผนหรือปฏิทินการดำเนินงานที่ชัดเจน 3)โรงเรียนขาดการติดต่อกับคณะกรรมการ และ4)สภาพเศรษฐกิจของชุมชนen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to synthesize research findings of basic institutional cmmittees roles accoudring to the National Education Act B.E.2542 and operation 2) to analyze quality thesis and to study research / theses characteristics affecting thisis quality. The research/theses reports used for synthesis were 50 research/theses, Which study about roles and operations of basic institutional committees. The research instruments were recording form and reseach quality assessing form. SPSS for windows version 13.0 was perfomed. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. Research findings were as follows: 1. The quality of 50 research/theses were in a good level ranged of between 2.20-3.68. Research rational and significance, methodology and sample-selection had quality in a highest level. Review of the literature, research tools and data collection, data analysis, research results, summary and discussion representaive were in good level. Moreover, research framework was in a moderate level. The research characteristic accounted for 95.6 percent of variance of the quality of the research/these which number of page, dummy variable study at center region, number of tools and analyze by descriptive statistic had significant. 2. The operations of basis institutional committees followed 12 roles, there were 4 roles performed in a hight level, such as 1)provision basic education for all children the service areas with good and standard 2) promotion of school and community relation and to coordinate both government and private organizations to make the school to be the center of community knowledge in relation to community development 3) approval of annual school development plans, and 4) performed extra to those assigned by superior agencies. Futhermore, the most active operations were in B.E.2547 when comparing with the operations during B.E.2544-2546. The roles of the teacher representatives were higher than the other representatives. 3. Factors supported in the management participation of the basic institutional committees consist of 1) the residence in community of school located 2) relationships between committees with administrator 3) time 4) economic status of committees 5) behavior of administrator 6) school famous and 7)commumity leaders. 4.Problem in the management participation of basic institutional committees , results revealed that 1) lack of knowledge in school management 2) administrator had no clear plan 3) school had no communication with the committees and 4) economic status of community.en
dc.format.extent1905808 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.subjectการบริหารการศึกษา -- วิจัยen
dc.subjectการประเมินผลงานen
dc.titleบทบาทและสภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การสังเคราะห์งานวิจัยen
dc.title.alternativeRoles and operations of basic institutional committees : A research synthesisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saratthanee_Ke.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.