Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79344
Title: การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์ขาขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตัน
Other Titles: Electromyographic analysis of lower leg muscles duringpartial weight bearing gait in badminton players
Authors: สรวุฒิ รัตนคูณชัย
Advisors: นงนภัส เจริญพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Subjects: การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
ขา -- กล้ามเนื้อ
แบดมินตัน
Electromyography
Leg -- Muscles
Badminton ‪(Game)‬
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะลงน้ำหนักบางส่วนในนักกีฬาแบดมินตันและเพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังขณะเดินด้วยความเร็วต่ำและความเร็วสูงในนักกีฬาแบดมินตัน วิธีดำเนินการวิจัย :  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาแบดมินตันของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 15-21 ปี ทำการติดตั้งตัววัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) บริเวณกล้ามเนื้อต้นขา 5 มัดที่ขาข้างขวา ได้แก่ Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Bicep femoris, Semitendinosus and Semimembranosus วิเคราะห์อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุดขณะทำการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (EMG max / MVC) อัตราส่วนพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกลุ่มเป้าหมายขณะมีการเคลื่อนไหวด้วยการเดิน และพื้นที่ใต้กราฟของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดด้วยความตั้งใจ (Integrated EMG /MVC) ในขณะที่นักกีฬาเดินบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงเดินช้าที่ความเร็ว 0.69 เมตรต่อวินาทีและที่เดินเร็วที่ความเร็ว 1 เมตรต่อวินาที ในสองภาวะน้ำหนักคือ ลงน้ำหนักตัวเต็มที่ 100% และภาวะที่มีการพยุงน้ำหนักร่างกายจนเหลือ 60% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Two Way  repeated ANOVA กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05 ผลการวิจัย : ผลการวิเคราะห์ EMG max / MVC และ Integrated EMG / MVC ของกล้ามเนื้อเกือบทุกมัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value 0.05) ในทุกสภาวะ   ยกเว้นที่กล้ามเนื้อ Bicep femoris ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกสภาวะ สรุปผลการวิจัย : จากการที่คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะเดินบนลู่วิ่งต้านแรงถ่วงในกล้ามเนื้อ Bicep femoris ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกสภาวะ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า การออกกำลังกายบนลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง สามารถใช้กับนักกีฬาที่ต้องการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาในขณะที่อยู่ในสภาวะที่ต้องลดแรงสะท้อนต่อข้อเข่า
Other Abstract: Purpose: To study the anterior and posterior thigh muscle electromyography while trying partial weights in badminton players, and to compare the anterior and posterior thigh muscle electromyography  during low- and high-speed walking in badminton players. Methods: The sample group used in this research were 15 badminton athletes of Banthongyard Badminton School, aged between 15-21 years. Put EMG electrode on 5 muscles, such as Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Bicep femoris, Semitendinosus and Semimembranosus.The ratio between EMG max/ MVC and Integrated EMG / MVC during walking on the antigravity treadmill at 0.69 m/s and briskly 1 m/s.In the two weight conditions are  100% and 60% of body weight, were analyzed by using Two Way repeated ANOVA. The level of significance was determined at p-value ≤ 0.05. Results:  The results of the EMG max/MVC and Integrated EMG/MVC of almost all muscles were statistically different (p-value ≤ 0.05) in all conditions, except for the biceps femoris which showed no difference was found; statistically significant in all conditions. Conclusion: There was no statistically significant difference in the electromyography during walking on a treadmill of the biceps femoris in all conditions. The researcher therefore suggested that Anti-gravity treadmill workout is suitable for athletes who want to strengthening thigh muscles during partial or none-weight bearing conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79344
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.843
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.843
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270029039.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.