Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79357
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรกำกับ ในพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationship between workload and work fatigue: the moderating role of meaningful work in parcel shop counter service officers of a postal and logistics company in Bangkok
Authors: พรพิเศษ ศศิวิมล
Advisors: จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ความเหนื่อยหน่าย ‪(จิตวิทยา)‬
ลูกจ้าง -- ภาระงาน
Burn out ‪(Psychology)‬
Employees -- Workload
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยล้าในการทำงาน และศึกษาอิทธิพลกำกับของงานที่มีความหมายต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยล้าในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานรับฝากพัสดุ องค์การขนส่งและโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 441 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) ข้อคำถามข้อมูลทั่วไป เช่น เพศ อายุงาน (2) มาตรวัดภาระงาน (workload scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ (3) มาตรวัดงานที่มีความหมาย (the Work and Meaning Inventory scale: WAMI scale) และ (4) มาตรวัดความเหนื่อยล้าในการทำงาน (the Three-Dimensional Work Fatigue Inventory: 3D-WFI scale) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า งานที่มีความหมายมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจ (β = -.24, p < .05) และมีอิทธิพลกำกับทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานทางจิตใจกับความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านอารมณ์ (β = -.26, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ยืนยันสมมติฐานหลักที่ว่า การที่พนักงานรับรู้ถึงคุณค่าและงานที่มีความหมายจะช่วยลดความเหนื่อยล้าในการทำงานด้านจิตใจและอารมณ์ อันเกิดจากความตึงเครียดของภาระงานทางด้านจิตใจได้ ดังนั้น องค์การควรมีการสนับสนุนในด้านการรับรู้ถึงงานที่มีความหมายของพนักงาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเหนื่อยล้าในการทำงานโดยเฉพาะด้านจิตใจและด้านอารมณ์
Other Abstract: This research aims to study the relationship between workload and work fatigue and the moderating effect of meaningful work on the relationship between workload and work fatigue. The participants of this research were 441 parcel shop counter service officers of a postal and logistics company in Bangkok. The data were collected through questionnaires including (1) general information questions (e.g., gender, work experience), (2) Workload scale including 3 dimensions (physical, mental, emotional), (3) the Work and Meaning Inventory scale: WAMI scale, and (4) the Three-Dimensional Work Fatigue Inventory: 3D-WFI scale including 3 dimensions (physical, mental, emotional). Significantly, the result showed that meaningful work negatively moderated the relationship between mental workload and mental work fatigue (β = -.24, p < .05), and negatively moderated the relationship between mental workload and emotional work fatigue (β = -.26, p < .05) significantly. This research confirmed the main hypothesis that when the employees perceived the value and the meaning of their work, it will help to reduce mental and emotional work fatigue which caused by the stress of mental workload. Therefore, the organization should support employees' awareness of the meaningful work to reduce the risk of mental work fatigue and emotional work fatigue.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79357
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.588
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.588
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370044138.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.