Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระพิณ ผลสุข-
dc.contributor.authorวัทธิกร มั่นจิตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:55:03Z-
dc.date.available2022-07-23T03:55:03Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79388-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstract  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการและวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 423 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 3 โรงพยาบาลของรัฐระดับตติยภูมิในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ และ  3) แบบสอบถามวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และ .95 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ของแบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจใน 4 มิติ คือ มิติการเกิดอาการ มิติความถี่ มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน  ได้เท่ากับ .85, .85, .87 และ .86 ตามลำดับ และแบบสอบถามวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ ในด้านการเลือกปฏิบัติวิธีการจัดการอาการ และประสิทธิผลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ .90 และ .91 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. อัตราการมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 52.7 (223 คน) 2. ประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลุ่มตัวอย่างรายงานมากที่สุด ในมิติการเกิดอาการ คือ อาการรู้สึกเหนื่อยง่าย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 67.7 มิติความถี่ คือ อาการขาบวม โดยกลุ่มตัวอย่างรายงานความถี่ของอาการอยู่ในระดับมาก (Mean ± SD = 3.13 ± 1.19) มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน คือ อาการเบื่ออาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างรายงานความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการอยู่ในระดับปานกลาง (Mean ± SD = 3.05 ± .97 และ 3.05 ± .97 ตามลำดับ)  3. วิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้มากที่สุด คือ นั่งหรือนอนพัก คิดเป็นร้อยละ 86.1 ซึ่งเป็นวิธีการจัดการสำหรับอาการเหนื่อยง่าย/อ่อนเพลียที่มีประสิทธิผลการจัดการอาการอยู่ในระดับมาก (Mean ± SD = 4.05 ± .96)   4. การเปรียบเทียบประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ ทั้ง 4 มิติ พบว่า เพศเป็นตัวแปรเดียวที่กลุ่มตัวอย่างรายงานประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอด เลือดหัวใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.59, df = 100.49, p = .01) -
dc.description.abstractalternativeThe objective of the descriptive, comparative study was to  explore the symptom experience and symptom management of post percutaneous coronary intervention among patients with coronary artery disease. A multi – stage sampling of 423 patients who had coronary artery disease with the post percutaneous coronary intervention were recruited from the cardiology outpatients department in 3 tertiary hospitals in Bangkok. Data were collected using three questionnaires: 1) Demographic data form, 2) Symptom experience questionnaires and 3) Symptom Management questionnaires. All questionnaires were tested for their content, validity by five experts. Their CVIs were 1.00, and .95 respectively. Their KR-20 and the Cronbach’s alpha coefficients of symptom questionnaires in 4 dimensions; presence, frequency, severity and distress were .85, .85, .87, and .86, respectively, and Symptom Management questionnaires in 2 dimensions, using and effective dimension were .90 and .91, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Independent t-test and one - way ANOVA. The findings were presented as follows: 1.The incidence rate of symptom experience of post percutaneous coronary intervention was 52.7 % (223 patients) 2. After post PCI, symptom that participants reported the most was fatigue (67.7 %); frequency was legs swelling at the high level (Mean ± SD = 3.13 ± 1.19), severity and distress were poor appetite at the medium level (Mean ± SD = 3.05 ± .97 and 3.05 ± .97, respectively). 3. Symptom management were: Rest (sitting or lying down) was used for fatigue management (86.1%) at the high level (Mean ± SD = 4.05 ± .96) 4. Gender was only variable significantly to symptom experience at the level of .05 (t = 2.59, df = 100.49, p = .01)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.890-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- ศัลยกรรม-
dc.subjectโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรม-
dc.subjectCoronary heart disease -- Surgery-
dc.subjectCoronary heart disease -- Patients -- Care-
dc.subjectPostoperative care-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleการศึกษาประสบการณ์การมีอาการและวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ-
dc.title.alternativeA study of symptom experience and symptom management of post percutaneous coronary intervention among patients with coronary artery disease-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.890-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077311636.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.