Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79389
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorนครินทร์ กมณีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:55:03Z-
dc.date.available2022-07-23T03:55:03Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79389-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่ทำงานระดับนโยบายและการวางแผน หรือสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  จำนวน 2 คน  กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 8 คน  กลุ่มผู้บริหารในองค์กรวิชาชีพ จำนวน 4 คนและกลุ่มอาจารย์พยาบาล สาขาการบริหารการพยาบาล จำนวน 6 คน  วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ได้แก่ การพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ และ การสร้างอัตลักษณ์ของพยาบาล 2) ด้านโครงสร้างองค์การ ได้แก่ การกระจายอำนาจให้มากขึ้นเพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น 3) ด้านระบบปฏิบัติงาน ได้แก่ การสร้างศูนย์นวัตกรรมและความเป็นเลิศทางการพยาบาล เป็นแหล่งวิชาการให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไป 4) ด้านการจัดการทรัพยากรทางการพยาบาล ได้แก่ การคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากรระดับปฏิบัติงาน ระดับผู้บริหารและการธำรงรักษาบุคลากร 5) ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ได้แก่ การออกแบบการบริหารงานในรูปแบบโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6) ด้านรูปแบบการบริการ ได้แก่ การพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับศูนย์ความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาล 7) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลและบริหารข้อมูลที่มีความเป็น real time 8) ด้านการเรียนการศึกษา ได้แก่  การร่วมพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิตที่เน้นการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้กับงานในปัจจุบันได้ ทั้งด้านเทคนิค และ การใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study a scenario of nursing organization management, autonomous university hospitals during B.E. 2022-2026. The Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) was applied. The subject were 20  experts including two chief administrator from Ministry of Public Health, eigth nursing administrators of autonomous university hospital, four nurse executive and six administrative lecturers from autonomous university hospital. The EDFR consisted of three steps : In step one, the experts were asked to describe about nursing organizational management. In step two, the data were analyzed by using content analysis for developing the rating scale questionnaire. All items in the questionnaire were ranked by the level probability of each scenario by organization management expertist. In step three, the data from the questionnaire were analyzed by median and interquatile range and then a new version of questionnaire was developed. The data were analyzed again by using median and interquatile range to summarize the nursing organizational management. The results show a scenario of nursing organizational management, autonomous university hospital during B.E. 2022-2026 consist of 8 components as follows: 1) Organizational strategy: development to be a learning organization, building international network and creating nurse’s identity 2) Organizational structure: decentralization for faster management. 3) System: development of nursing excellence and innovation center 4) Nursing resource management: recruitment, selection, development and employee engagement. 5) Management style: changes of a traditional management to be a project management  6) Nursing service: building nursing experts center that accord with hospital professional center. 7) Information technology: database management and analyzing  data in real time. 8) Education collaboration: development of nursing science program with new teaching and learning process-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.757-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย-
dc.subjectการพยาบาล -- การบริหาร-
dc.subjectการพยาบาล -- การจัดการ-
dc.subjectUniversity hospitals-
dc.subjectNursing -- Administration-
dc.subjectNursing -- Management-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569-
dc.title.alternativeA scenario of nursing organizational management, autonomous university hospitals during A.D. 2022-2026-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.757-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077336336.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.