Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorพิมพ์วิมล ยงใจยุทธ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:55:10Z-
dc.date.available2022-07-23T03:55:10Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79399-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractเชื้อโควิด 19  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำมาข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของ van Manen ผลการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19  แบ่งเป็น 6 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย1.1) สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนเข้าห้องผู้ป่วย 1.2) วางแผนให้การพยาบาลแบบเบ็ดเสร็จตามรอบเวลา1.3) เสร็จสิ้นการทำงาน ถอดชุดป้องกันอย่างถูกวิธี และ 1.4) ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดใหม่ก่อนลงเวรหรือกลับบ้าน 2. ดูแลด้วยใจ เอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย2.1) ดูแลด้านร่างกายให้สุขสบาย 2.2) ติดตามอาการที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2.3) ให้กำลังใจในการรักษา 2.4) สิ่งใดที่ปรารถนา เต็มใจจัดหามาให้ 2.5) ใส่ใจตรวจสอบและประสานสิทธิ์การรักษา 2.6) เมื่อผู้ป่วยมีปัญหา ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2.7) จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้าย 3. มีปัญหาต้องแก้ไข เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 3.1) บริหารจัดการเตียงให้เพียงพอกับผู้ป่วยโควิดแต่ละประเภท 3.2) อัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอ ขออัตรากำลังเสริมเข้าช่วย 3.3) ต่างชาติต่างภาษา เจรจาวุ่นวาย หาตัวช่วยคลี่คลาย สื่อสารจนเข้าใจ และ 3.4) อึดอัดใจ ทีมไม่เข้าดูคนไข้ เจรจาให้เข้าใจทำงานกันได้ราบรื่น 4. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1 ผู้บริหารเห็นความสำคัญ สร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน 4.2 เพื่อนร่วมงานให้กำลังใจ ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี 4.3 ผู้ป่วยและญาติ ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ 4.4 บุคคลภายนอกให้กำลังใจในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม และ   4.5 การได้บรรจุเป็นข้าราชการและเงินค่าเสี่ยงภัย เป็นขวัญกำลังใจที่สำคัญ 5. ผลทางลบจากการทำงานในสถานการณ์โควิด ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 5.1 ใส่ชุด PPE ร้อนและอึดอัด ต้องอดทน มีผลลบต่อสุขภาพ 5.2 เหนื่อย เพลีย เครียด ทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน และ 5.3 ทำงานเสียสละ แต่สังคมรอบข้างแสดงความรังเกียจ 6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย 6.1 เพิ่มพูนประสบการณ์ เติมเต็มความรู้ และ6.2 ภูมิใจในวิชาชีพและช่วยผู้ป่วยให้หายกลับบ้านได้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่างๆเพื่อการปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 หรือโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this qualitative study is to describe working experiences of nursing in a COVID-19 unit. Hermeneutic phenomenology of Martin Heidegger was applied as research methodology. Purposive sampling was used to select 15 nurses who working in a COVID-19 unit. The in-depth interview with tape-record and observation. All interviews were transcribed verbatim and analyzed by using content analysis of van Manen's method. The findings regarding to this study were consisted of 6 major themes and sub-themes as follows: 1. Following clinical practice guidelines for COVID-19 care. It is consisted of 5 sub-themes including 1.1) Wearing Personal Protective Equipment, 1.2) Developing the comprehensive care plan, 1.3) Removing Personal Protective Equipment step by step properly and 1.4) Cleaning yourself before leaving from a unit. 2. Providing patients with compassionate care.  It is consisted of 7 sub-themes including 2.1) Providing physical comfort to patients, 2.2) Monitoring symptoms that may change at any time, 2.3) Giving psychological support, 2.4) Responding any patient’s request, 2.5) Paying attention to patients’ health care benefit, 2.6) Using interdisciplinary collaboration to enhance patient care, and 2.7) Managing palliative and end of life service. 3. Solving several problems while caring for patients with COVID-19. It is consisted of 4sub-themes including, 3.1) Managing bed allocation adequately, 3.2) Solving the problem of insufficient nursing staff, 3.3) Managing diversity and cultural differences, and 3.4) Solving work conflict. 4. Getting morale and motivation while working with COVID-19. It is consisted of 5 sub-themes including 4.1) Boosting morale and motivation by managers, 4.2) Encouraging by colleagues, 4.3) Getting encouragement and support by patients and relatives, 4.4) Getting will power support by general people, and 4.5) Getting COVID risk payment and being the civil servant. 5. Getting negative effects of working in the COVID situation. It is consisted of 3 sub-themes including 5.1) Feeling uncomfortable while wearing PPE, 5.2) Getting work stress, and 5.3) Offending social stigma. 6. Receiving positive outcomes from caring for COVID patients. It is consisted of 2 sub-themes including 6.1) Gaining knowledge and experiences of caring for patients with COVID-19 and 6.2) Being proud of nursing profession and save patients’ life. The findings provide information for nursing administrators to promote and support various aspects of the practice of nurses in caring for patients infected with COVID-19 or emerging diseases that may occur in the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.494-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโควิด-19 ‪(โรค)‬ -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
dc.subjectพยาบาลกับผู้ป่วย-
dc.subjectพยาบาล -- ภาระงาน-
dc.subjectCOVID-19 ‪(Disease)‬ -- Patient -- Care-
dc.subjectNurses -- Workload-
dc.subjectNurse and patient-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19-
dc.title.alternativeWorking experinces of nurses in a Covid-19 unit-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบริหารทางการพยาบาล-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.494-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270025636.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.