Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79443
Title: | การกำหนดขอบเขตตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |
Other Titles: | Market definition for E-Commerce business |
Authors: | กรวินท์ กาญจนพิบูลย์ |
Advisors: | ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายป้องกันการผูกขาด Electronic commerce Antitrust law |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผ่านสื่อกลางคือ แพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งนี้ ด้วยลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ที่มีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปนั้น ได้ส่งผลกระทบถึงการกำหนดขอบเขตตลาดที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมอันเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ที่นอกเหนือไปจากประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดขอบเขตตลาดและส่วนแบ่งตลาด พ.ศ. 2561 ที่มีการใช้บังคับเป็นแนวทางสำหรับการกำหนดขอบเขตของธุรกิจทั่วไปในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลถึงการกำหนดขอบเขตตลาด ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ตลอดจนกฎหมาย แนวความคิด แนวทางปฏิบัติ และข้อพิจารณาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตตลาด สำหรับธุรกิจทั่วไป และธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับดิจิทัลของต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าควรมีการนำเอาลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีตลาดแบบหลายด้าน ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจ ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีการให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และลักษณะของการให้บริการดิจิทัล มาใช้ในการพิจารณาเพื่อกำหนดขอบเขตของตลาด ร่วมกับแนวทางการกำหนดขอบเขตตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน จากผลการศึกษาข้างต้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกเป็นสองแนวทาง ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง คือ การออกประกาศของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของตลาด สำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ เพื่อระบุข้อพิจารณาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เอาไว้โดยชัดแจ้งในกฎหมาย และแนวทางที่สอง คือ การที่ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหรือเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพื่อกำหนดขอบเขตของตลาด ดำเนินการพิจารณาหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของตลาด โดยการนำเอาลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาร่วมในการพิจารณาควบคู่ไปกับการใช้บังคับประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดขอบเขตตลาดและส่วนแบ่งตลาด พ.ศ 2561 ทั้งนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางที่หนึ่ง เนื่องจากว่าแนวทางปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าว จะทำให้ข้อพิจารณามีความชัดเจน และการบังคับใช้ข้อพิจารณาดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | An electronic commerce business or e-commerce business is a business related to the sale and purchase goods or services on the internet system through the intermediate especially, digital platforms. Unique characteristics of e-commerce business, which are different from general businesses, have caused challenges to market definition for e-commerce business under the competition law. Therefore, there is the necessity to have the additional considerations regarding the specific characteristics of the business apart from existing criteria in the Announcements of Trade Competition Commission re: Guidelines for considering the market definition and market share B.E. 2561 which currently enforced as the guidelines for considering the market definition of general businesses. In this thesis, the author conducted a study on the characteristics of e-commerce business which are affected to relevant market definition under the competition law as well as laws, concepts, guidelines and various considerations related to the market definition for general businesses and digital-related businesses of overseas i.e., European Union, United States of America and Japan. This thesis proposes that the characteristics of e-commerce business, i.e., the multi-sided market business, data-driven business, free services offering business and digital services business, should be applied for considerations of market definition coupled with the guidelines for considering the market definition under to the current competition law. At the results, the recommendations on the market definition considerations for e-commerce business are divided into two approaches. The first approach proposes a new announcement on market definition explicitly recognizing unique characteristics of e-commerce business. The second approach is recommended that the trade competition commission or the authorized/related authorities of the market definition processes should apply the specific characteristics of e-commerce business as of the considerations for processing of market definition consideration or analyzation coupled with the enforcement of the Announcements of Trade Competition Commission re: Guidelines for considering the market definition and market share B.E. 2561. Taking the two proposed approaches into account, the author agrees with the first approach, since having clear criteria can help ensuring clarity as well as consistency of while applying the criteria. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79443 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.686 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.686 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280097934.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.