Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7947
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา
Other Titles: Development of indicators for the quality of english-based instructional management in bilingual schools
Authors: เศรษฐภรณ์ หน่อคำ
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wkaemkate@hotmail.com
Subjects: ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
หลักสูตรสองภาษา
การศึกษา -- หลักสูตร
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง ของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสองภาษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสองภาษาที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 101 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านตัวบ่งชี้และด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษจำนวน 12 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้บริหารและผู้แทนครูไทยในโรงเรียน สองภาษา ที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษจำนวน 413 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็น ภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.5 ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.53 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า มีตัวแปรที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวนทั้งสิ้น 64 ตัวแปร จากตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 77 ตัวแปร ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 25 ตัวแปร 2)ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 31 ตัวแปร และ 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 8 ตัวแปร 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพการจัด การเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[supperscript2]=22.34, df = 46, p = 0.996, GFI = 0.97, AGFI = 0.92, RMR = 0.019) น้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบย่อยทั้ง 15 ตัว มีค่าเป็นบวก มีขนาด ตั้งแต่ 0.68-0.95 โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษทั้ง 3 ด้านนั้น มีค่าเป็นบวก และมีขนาดตั้งแต่ 0.90-1.00 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านผลผลิตตามลำดับ โดยองค์ประกอบในแต่ละด้านดังกล่าว มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00,0.99 และ 0.90 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับโมเดลคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาโดยรวม ได้ร้อยละ 99,97 และ 81 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research were to develop the indicators for the quality of English-based instructional management in Billing schools and investigate the goodness of fit of the proposed model of quality English-based instructional management indicators in Billingual schools to the empirical data. The participants of this research were 101 schools which instructional management of English Program (EP) were the sample, drawn by stratified sampling method. The representative for data collection comprised 2 groups which are 12 experts whose profession in educational indicators and English Program instruction and 413 executive schools and Thai teachers from Billingual schools.The research varibles were quality of English-based instructional management in Billingual schools. The research tools were the interview and questionnaires. Data analyzed by descriptive statistics through SPSS for Window Version 11.5, and LISREL 8.53 for confirmatory factor analysis and order confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1) The results of confirmatory factor analysis were found quality of English - based instructional management indicators in Billingual Schools was fit to the empirical data consisted of 3 factors and 64 indicators from variables studied 77 indicators. The 3 factors consisted of 25 indicators of input, 31 indicators of process and 8 indicators of output. 2) The results of second order confirmatory factor analysis of the model for the quality of English-based were found the model was fit to the empirical data (X[supperscript2]=22.34, df = 46, p = 0.996, GFI = 0.97, AGFI = 0.92, RMR = 0.019), factor loadings of 15 sub-factors were positive, their sizes were from 0.68-0.95.The higher factor loading sub-factors were expectantly characteristic of students. Factor loadings of quality of English - based instructional management in 3 main factors were positive, their sizes from 0.90-1.00 which were similar size. The high factor loading factors were process, input and output which have factor loading values were 1.00, 0.99 and 0.90 respectively. The model accounted for 99%, 97% and 81% respectively of variance for the quality of English - based instructional management in Billingual 81% respectively of variance for the quality of English - based instructional management in Billingual schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7947
ISBN: 9741437803
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
setthaporn.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.