Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ คีลาวัฒน์-
dc.contributor.advisorนครินทร์ กิตกำธร-
dc.contributor.authorศิวะพร ธนสาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:15:16Z-
dc.date.available2022-07-23T04:15:16Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79522-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของโปรตีนทั้งหมด 16 ชนิด ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องสายเสียงที่กลับมาเป็นซ้ำและกลุ่มที่ไม่กลับมาเป็นซ้ำ โดยนำตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อที่ฝังในพาราฟินบล็อกมาย้อมด้วยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี (Immunohistochemistry) ด้วยแอนติบอดี pRb780, c-Met, Ki67, RPA32, CyclinD1, P53, HIF1alpha, Bcl2, BAX, BAK, Bclxl, PI3K, B-catenin, VEGF, CD44 และ P16 โดยการแสดงออกของโปรตีนจะถูกประเมินจากภาพถ่ายดิจิทัลโดยใช้ชุดซอฟต์แวร์ Imagescope v.10.2.2.2352 (Aperio Technologies, USA) นำมาคำนวณค่ามัธยฐาน H-score และใช้สถิติ  Receiver operating characteristic (ROC) curve ในการเลือกจุดตัดที่เหมาะสม (cut off point) สำหรับแบ่งกลุ่มการแสดงออกของโปรตีนในผู้ป่วย จากนั้นหาความสัมพันธฺระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางคลินิก และการแสดงออกของโปรตีนกับอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ค่ามัธยฐาน H-score ของแอนติบอดี pRb780 เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำ (p=0.0012) ในขณะที่การแสดงออกของโปรตีน c-Met ลดลงในกลุ่มผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.0014) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งช่องสายเสียง เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วย Crude hazard ratio พบว่าการแสดงออกของโปรตีน pRb780 ร่วมกับ c-Met  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งช่องสายเสียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Hazard ratio=9.53, 95%CI=1.21-74.82) เมื่อวิเคราะห์ด้วย Adjusted hazard ratio พบว่า การแสดงออกของโปรตีน pRb780 ร่วมกับ c-Met มีความสัมพันธ์กับการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งช่องสายเสียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Hazard ratio=8.73, 95%CI=1.09-69.75) กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของโปรตีน pRb780 สูง ร่วมกับ การแสดงออกของโปรตีน c-Met ต่ำ จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง 8.73 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของโปรตีน pRb780 ต่ำ ร่วมกับ การแสดงออกของโปรตีน c-Met สูง ดังนั้นการแสดงออกของโปรตีน pRb780 และ c-Met อาจใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพยากรณ์การกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องสายเสียงได้-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to compare the 16 proteins expression between recurrent and non-recurrent glottic cancers. Pretreatment formalin-fixed paraffin-embedded tissues biopsies were stained for pRb780, c-Met, Ki67, Bcl2, RPA32, CyclinD1, P53, HIF1alpha, BAX, BAK, Bclxl, VEGF, PI3K, B-catenin, CD44 and p16. Expression of these 16 proteins was evaluated by digital image analysis using the Imagescope v.10.2.2.2352 software package (Aperio Technologies, USA) and was calculated by H-score. Receiver operating characteristic (ROC) curve was performed to select the best cut-off point of protein expressions for cancer recurrence prediction. The protein expressions and clinico-pathological data were correlated to recurrent rate and recurrence-free survival (RFS). The results indicated that pRb780 expression significantly increased in recurrent group compared to non-recurrent group. (p=0.0012). On the other hand, c-Met expression significantly decreased in recurrent group compared to non-recurrent group. (p=0.0014). The expression of combination proteins had an even stronger correlation with recurrent rate and RFS. Patients with high expression of pRb780 and low-expression of c-Met showed higher rate of recurrent than patients with low expression of pRb780 and high expression of c-Met. (Hazard ratio= 9.53; 95%CI=1.21-74.82). The adjusted hazard ratio of patients with high expression of pRb780 and low-expression of c-Met were 8.73 (Hazard ratio=8.73, 95%CI=1.09-69.75) compared to patients with low expression of pRb780 and high expression of c-Met. Evaluation of pRb780 and c-Met expression may be used as the predictive and prognostic information for patients with recurrent glottic cancer.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.828-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectมะเร็ง -- การเกิดโรคกลับ-
dc.subjectกล่องเสียง -- มะเร็ง-
dc.subjectCancer -- Relapse-
dc.subjectLarynx -- Cancer-
dc.titleการศึกษาการแสดงออกในระดับโปรตีนเพื่อทำนายการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งช่องสายเสียง-
dc.title.alternativeThe prediction of glottic cancer recurrence by immunohistochemical staining of associated proteins-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.828-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174088230.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.