Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79537
Title: ภาวะซึมเศร้า ความผูกพันต่อบทบาท และกลวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Depression, associated role commitment and coping strategies in female patients with depressive disorders in psychiatric outpatient department, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: พลอย เชนศรี
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี
การปรับตัว (จิตวิทยา)
บุคคลซึมเศร้า
Depression in women
Adjustment (Psychology)
Depressed persons
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความผูกพันต่อบทบาท และกลวิธีการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และศึกษาความผูกพันต่อบทบาท กลวิธีการเผชิญปัญหา และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านแผนกจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้าสองชนิดทับซ้อนกัน จำนวน 152 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมด 5 ชุด ข้อ ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 11 ข้อ 2) แบบประเมินซึมเศร้าฉบับภาษาไทย จำนวน 21 ข้อ 3) แบบวัดความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย จำนวน 31 ข้อ 4) แบบวัดการเผชิญปัญหา จำนวน 39 ข้อ 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 16 ข้อ และผู้วิจัยบันทึกแบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ของผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 4 ข้อ นำเสนอความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ข้อมูลความผูกพันต่อบทบาทที่หลากหลาย กลวิธีการเผชิญปัญหา การสนับสนุนทางสังคม เป็นค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงลักษณะ และใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง โดยอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง 37 คน (ร้อยละ 24.3) มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับต่ำมาก 20 คน (ร้อยละ 13.2) อยู่ในระดับเล็กน้อย 37 คน (ร้อยละ 24.3) อยู่ในระดับปานกลาง และ 58 คน (ร้อยละ 38.2) อยู่ในระดับรุนแรง คะแนนระดับภาวะซึมเศร้าโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิงคือ 24.24 ±13.79 คะแนน จากคะแนนเต็ม 63 คะแนน ซึ่งคะแนนอยู่ในภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ผู้ป่วยเพศหญิงส่วนใหญ่มีความผูกพันในบทบาทผู้ดูแลบิดามารดามากที่สุด (3.83 ± 1.01) กลวิธีการเผชิญปัญหาที่ผู้ป่วยเพศหญิงใช้มากที่สุดคือ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหา (3.44 ± 0.63) ในระดับมาก (82 คน ร้อยละ 53.9) และได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง (55.16 ± 13.56) โดยปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง ได้แก่ การมีบทบาทผู้ดูแลบิดามารดาในระดับต่ำมากถึงต่ำ การมีบทบาทญาติพี่น้องในระดับต่ำมากถึงต่ำ การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำมากถึงต่ำ การสนับสนุนทางสังคมในด้านอารมณ์ในระดับต่ำ (p<0.05) อายุที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี รายได้ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ไม่มีภาระการดูแลสามีถึงระดับค่อนข้างน้อย การใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาในระดับต่ำมากถึงต่ำแบบหลีกหนีในระดับปานกลางถึงมากที่สุด การได้รับการสนับสนุนทางสังคมทุกด้านในระดับต่ำ และการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารในระดับต่ำ (p<0.01) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลางถึงรุนแรงของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพศหญิง ด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ พบปัจจัยทำนาย ได้แก่ อายุที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี รายได้ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน ไม่มีภาระการดูแลสามีถึงค่อนข้างน้อย กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาในระดับต่ำมากถึงต่ำ กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีแบบปานกลางถึงมากที่สุด และการสนับสนุนทางสังคมที่ต่ำ สรุปผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยซึมเศร้าเพศหญิงอยู่ในระดับปานกลาง โดยความผูกพันต่อบทบาทต่ำ การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีแทนการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาและการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเพศหญิง ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีบทบาทที่หลากหลาย ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม และเพิ่มแหล่งสนับสนุนทางสังคม อาจช่วยลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยได้
Other Abstract: Objective : To determine the severity of depression, role commitment, coping strategies, and associated factors of depression in moderate to severe level in female patients with depressive disorders in Psychiatric Outpatient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods : 152 patients aged 18 years and above diagnosed as major depressive disorder (MDD) or persistent depressive disorder (dysthymia) or double depression using DSM-5 criteria were recruited. All participants completed 5 questionnaires; 1) 11 items of Demographic Questionnaire, 2) 21 items of Beck Depression Inventory-II (BDI-II) – Thai Version, 3) 31 items of Multiple Role Commitment Questionnaire, 4) 39 items of Coping Scale, 5) 16 items of Social Support Questionnaire. All subjects’ medical data forms were completed by the researcher. The severity of depression, demographic data, role commitment, coping strategies, and social support were presented in proportion and percentage. The associated factors of depression in moderate to severe level were analyzed by the chi-square test and Fisher’s Exact test. Binary logistic regression was performed to identify the potential predictors of depression in moderate to severe level. A p-value of less than 0.05 was statistically significant. Results : 37 female depressed patients scored low depression level, 20 patients scored minimal depression level, 37 patients scored moderate depression level, and 58 patients scored severe depression level. The mean score (with SD) of the depression severity in female depressed patients was 24.24 ± 13.79, which was in the moderate level, from the total score of 63. Most female depressed patients were committed to the caregiver role the most (3.83 ± 1.01). 82 patients frequently used problem focused coping strategy (3.44 ± 0.63). Depressed patients received moderate social support (55.16 ± 13.56). Factors associated with depression in moderate to severe level in female patients were having low caregiver role commitment, having low kinship role commitment, extremely low-to-low use of seeking social support coping strategy, receiving low emotional support (p < 0.05), age of under or equal to 30 years, income of less or equal to 20,000 baht per month, none-to-low husband care burden, extremely low-to-low use of problem focused coping strategy, moderate-to-extremely high use of avoidance coping strategy, low social support, and low informational support (p < 0.01). The binary logistic regression analysis indicated that factors were female aged lower or equal 30 years, low income, and low husband care burden, low caregiver role commitment, kinship role commitment, low coping strategies in problem focused and seeking social support, high avoidance coping strategy, and low social support. Conclusion : The mean score of depression in female patients was in the moderate level. Low role commitment, high use of avoidance coping strategy, low use of problem focused and seeking social support coping strategy, and low social support were significantly associated with depression in moderate to severe level in female patients. Promoting multiple role commitment, using the suitable coping strategies, and increasing social support may help to reduce female patients’ depressive symptoms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79537
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1083
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1083
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370031830.pdf8.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.