Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79540
Title: พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและการเห็นคุณค่าในตนเองของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง
Other Titles: The study of HIV Risky behaviors and self-esteem among men who have sex with men (MSM) at RSAT Medical Technology Clinic Ramkhamhaeng
Authors: ภูเบศร์ ปานเพ็ชร์
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: รักร่วมเพศ -- พฤติกรรมทางเพศ
ความภูมิใจแห่งตนในบุรุษ
การติดเชื้อเอชไอวี -- การป้องกัน
Homosexuality -- Sexual behavior
Self-esteem in men
HIV infections -- Prevention
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม้ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีจะลดลงมากเมื่อเทียบกับอดีต แต่กลับพบว่าชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ยังคงมีอัตราการติดเชื้อที่สูงมากเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป จึงจำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อและลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี โดยการสนับสนุนให้บุคคลได้ดูแลและป้องกันตนเอง ผู้วิจัยจึงศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และการเห็นคุณค่าในตนเองของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในคลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง โดยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้รับบริการชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ฟ้าสีรุ้ง รามคำแหง จำนวน 358 คน โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรู้เรื่องเอชไอวี/ โรคเอดส์ 3) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ (Coppersmith Self-Esteem Inventory Adult Form) 4) แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยมี Chi-Square และ Multiple Logistic Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคู่นอนประจำ ร้อยละ 61.7 และ มีคู่นอนชั่วคราว ร้อยละ 56.4 มีการเห็นคุณค่าในตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 57.5 และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีปานกลาง ร้อยละ 69.3 สถิติเชิงอนุมานพบว่าปัจจัยทำนายที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่มีรายได้เพียงพอ ถึง 3 เท่า (Adjusted OR = 2.875, 95% CI: 1.196 - 6.914, p = .018) คนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่มีการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่า ถึง 6 เท่า (Adjusted OR = 5.979, 95% CI: 1.120 - 31.936, p = .036) คนที่มีคู่นอนชั่วคราว จะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่ไม่มีคู่นอนชั่วคราว ถึง 9 เท่า (Adjusted OR = 9.434, 95% CI: 3.784 - 23.522, p < .001) และคนที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำและปานกลางค่อนข้างต่ำ จะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่เห็นคุณค่าในตนเองสูง ถึง 38 เท่า (Adjusted OR = 37.864, 95% CI: 7.610 - 188.380, p < .001) จึงสรุปได้ว่า การเห็นคุณค่าในตนเองสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนที่เห็นคุณค่าในตนเองสูง ดังนั้นในทางกลับกัน เมื่อส่งเสริมให้บุคคลมีมีการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรม และปฏิบัติตนอย่างระมัดระวัง ซึ่งช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: Nowadays, studies show that the rate at which men who have sex with men (MSM) contract HIV remains the highest among ordinary people. Therefore, a reduction in contracting HIV with the support of caring individuals and self-protection is a must. The aim of this research was to study the association of HIV risk behaviors, self-esteem, and related factors among MSM at RSAT Medical Technology Clinic Ramkhamhaeng. Data was collected from 358 MSM clients at RSAT MT Clinic by using questionnaires including 1) a demographic questionnaire; 2) an HIV/ AIDS knowledge test; 3) The Coppersmith Self-Esteem Inventory Adult Form; and, 4) an HIV risky behavior questionnaire. Descriptive and inferential statistics (Chi-Square and Multiple Logistic Regression Analysis) were used to evaluate the data. The result showed that most MSM subjects had permanent sexual partners (61.7%) while others non-permanent sexual partners (56.4%). 57.5% had high self-esteem, whereas 69.3% had moderate HIV risky behavior. The multiple logistic regression analysis showed that four factors were significantly associated with HIV risky behavior: those with insufficient income had 3 times the incidence of HIV risky behavior than those with sufficient income (AOR = 2.875, 95% CI: 1.196 – 6.914, p = .018), education levels lower than bachelor’s degree had 6 times the incidence of risky behavior than master’s degree or higher (AOR = 5.979, 95% CI: 1.120 - 31.936, p = .036) having a non-permanent sexual partner had 9 times the incident rate of risky behavior than those who do not (AOR = 9.434, 95% CI: 3.784 - 23.522, p < .001); meanwhile, low self-esteem had 38 times the possibility of HIV risky behaviors than those with  high self-esteem (AOR = 37.864, 95% CI: 7.610 - 188.380, p < .001). In conclusion, Factors related to HIV risky behaviors include low self-esteem, insufficient income, education level, and having non-permanent partners. The most prominent contributing factor is low self-esteem. Therefore, raising one’s self-esteem is crucial to developing a sense of safe behavior and practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79540
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1087
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1087
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370043330.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.