Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79541
Title: ภาวะเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานในเจ้าพนักงานและพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Job burnout and related factors among disaster prevention and mitigation officers in Bangkok
Authors: วีวรรธนา แก้วบัวดี
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: กรุงเทพมหานคร -- พนักงาน
ความเหนื่อยหน่าย ‪(จิตวิทยา)‬
ความพอใจในการทำงาน
Burn out ‪(Psychology)‬
Job satisfaction
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของเจ้าพนักงานและพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 313 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามประเมินภาวะความเหนื่อยล้าในการทำงาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Multiple logistic regression ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการลดความเป็นบุคคลและด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับต่ำ(ร้อยละ 75.4, 84.0 และ 48.2 ตามลำดับ) และผู้ที่มีภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 8.31 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความเหนื่อยล้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ สถานภาพทางเศรษฐกิจ ที่มีรายได้ไม่พอใช้ (ORadj=2.56; 95%CI:1.01-6.47) การมีความไม่พึงพอใจในสิ่งแวดล้อมในสถานีดับเพลิงที่ทำงาน (ORadj =8.31; 95%CI: 2.02-34.15) การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานที่ไม่เพียงพอ (ORadj =3.38; 95%CI: 1.24-9.24) และการมีความไม่พึงพอใจในงาน (ORadj =9.90; 95%CI: 2.68-36.68)  จากการศึกษาพบว่ามีหลายปัจจัยสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความเหนื่อยล้า เช่น ความไม่พึงพอใจในสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน การไม่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเช่น พัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น เฝ้าระวังทางสุขภาพจิตมากขึ้น เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาวะที่ดี ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงานต่อไปได้
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to evaluate the level of job burnout and related factors among Disaster Prevention and Mitigation Officers in Bangkok. The subjects were 313 officers, sampled by stratified and simple random sampling. Demographic, work-related questionnaire and the Maslach burnout inventory (MBI) were used to collect the data. The data were analyzed by descriptive and inferential statistics with multiple logistic regression. The result revealed that officers experienced low level of burnout in each dimension (75.4% in emotional exhaustion, 84.0% in depersonalization, and 48.2 % in reduced personal accomplishment). 8.31% of officers experienced high level of burnout. Result of multiple logistic regression analysis showed factors related to burnout were economic status with insufficient income (ORadj=2.56; 95%CI:1.01-6.47), the environmental dissatisfaction in workplace (ORadj =8.31; 95%CI: 2.02-34.15), inadequate co-worker support (ORadj =3.38; 95%CI: 1.24-9.24), and job dissatisfaction (ORadj =9.90; 95%CI: 2.68-36.68). Many factors are related to high level of burnout, such as dissatisfaction in the workplace, not getting support from co-workers. These may be used as a guideline for development such as improve the working environment and mental health surveillance for officers. This has a positive effect on the efficiency and safety of work.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79541
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370051330.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.