Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79549
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอกราช อริยะชัยพาณิชย์-
dc.contributor.advisorชัยศิริ วรรณลภากร-
dc.contributor.authorการิตา ด่านพุทธพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:15:35Z-
dc.date.available2022-07-23T04:15:35Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79549-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractความเป็นมา ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณออกซิเจนที่หัวใจต้องการกับปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ อย่างไรก็ตามความชุกของการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจจากการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ต้องการศึกษาความชุกของการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 ที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ วิธีการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง ศึกษาผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ 2558 ถึง 2564 ด้วยสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่สาเหตุจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และระหว่างนอนโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 โดยการวินิจฉัยเป็นไปตามคำนิยามการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสากลครั้งที่ 4 (The 4th universal definition) และผู้ป่วยได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ โดยการตีบของหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ คือ หลอดเลือดหัวใจมีการตีบมากกว่าหรือเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่านศูนย์กลาง จากการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลพื้นฐาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือนได้จากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตีบของหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ ใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียวและการวิเคราะห์พหุตัวแปรผลการวิจัย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 จำนวน 97 รายที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ พบว่า 64 ราย (65.98%) มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจ  ได้แก่  โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในลักษณะ ST depression และการตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจขยับตัวน้อยในบางส่วนจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (RWMAs) โดยเพิ่มความเสี่ยง 6.14 เท่า [aOR : 6.14 (95%CI : 1.87-20.15, p <0.001, 3.43 เท่า [aOR : 3.43 (95%CI : 1.03-11.45, p =0.04), 3.51 เท่า [aOR : 3.51 (95%CI : 1.11-11.09, p =0.03) และ  5.36 เท่า [aOR : 5.36 (95%CI : 1.28-22.41, p =0.03) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของอัตราตายจากทุกสาเหตุ, อัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และการนอนโรงพยาบาลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยทั้งกลุ่มที่ตรวจพบ และไม่พบการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจ เมื่อติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือน สรุปผลการวิจัย เกินกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่เบื้องต้นที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 ที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ พบว่ามีการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจ นำไปสู่การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดไขมัน และการทำหัตถการเพื่อแก้ไขหลอดหลอดหัวใจที่ตีบ โดยปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในลักษณะ ST depression และการตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจขยับตัวน้อยในบางส่วนจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (RWMAs) ทำให้แพทย์ผู้ดูแลตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยภาวะนี้ และเลือกผู้ป่วยที่น่าสงสัยว่าจะมีการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจไปรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป    -
dc.description.abstractalternativeBackground: Patients with suspected type 2 myocardial infarction (MI) , which is defined by an imbalance of the oxygen required and the oxygen intake of the heart are commonly occurred. The current prevalence of the obstructive coronary artery in this group is uncertain. The aim of this study was to examine the prevalence of obstructive coronary artery by coronary angiography in Thai population and evaluate  factors associated with obstructive coronary artery disease in this population. Methods: This is a retrospective study. We enrolled patients who were admitted due to critical illness other than acute coronary syndrome and diagnosed with type 2 MI who underwent a coronary angiography at Chulalongkorn Hospital from 2015 to 2021. The diagnosis of of type 2 MI was justified by 4th universal definition of MI. The significant obstructive coronary artery was defined by more than 50% stenosis by coronary angiography. Clinical characteristics, investigations and 6-month follow- up outcomes were extracted from medical records. Analysis of factors associated with significant obstructive coronary arteries was done by uni- and multivariate analysis. Results: Of the 97 patients with type 2 MI and received coronary angiography (55.7% male, mean age 75 years), 64 (65.98%) had significant coronary stenosis. The independent factors associated with significant coronary stenosis were diabetes mellitus, hypertension, ST depression-like electrocardiograic changes, and detectable myocardial infarction from echocardiography with increased risk of 6.14 times [aOR: 6.14 (95%CI: 1.87-20.15, p < 0.001, 3.43 time [aOR: 3.43 (95%CI: 1.03-11.45, p = 0.04), 3.51 times [aOR: 3.51 (95%CI: 1.11-11.09, p = 0.03) and 5.36 times [aOR: 5.36 (95%CI: 1.28-22.41, p = 0.03), respectively. Regarding outcomes, there was no statistically significant difference between groups in 6- month all-cause mortality, cardiovascular disease-related mortality and hospitalization. Summary of research results: More than half of the patients initially diagnosed with type 2 MI and received coronary angiography were found to have significant narrowing of the coronary arteries. This led to antiplatelet therapy, lipid-lowering drugs, and procedures to correct narrowed coronary arteries. Factors that associated with significant narrowing of the coronary arteries may raise awareness in selection of patients with type 2 MI to proceed with further diagnostic testing.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1132-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์-
dc.subjectหลอดเลือดแดง -- ภาวะตีบแคบ-
dc.subjectCoronary heart disease-
dc.subjectArteries -- Stenosis-
dc.titleความชุกของการตีบอย่างมีนัยสำคัญของหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดที่ 2 ที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ-
dc.title.alternativeThe prevalence of obstructive coronary artery disease from coronary angiography, in the initial diagnosed type 2 myocardial infarction patients.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1132-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370071930.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.