Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79550
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤชา จิรกาลวสาน-
dc.contributor.authorจิณห์จุฑา เงยวิจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:15:36Z-
dc.date.available2022-07-23T04:15:36Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79550-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractบทนำ ผู้ป่วยภาวะหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องที่มีเวลาการใช้เครื่องอย่างเหมาะสมแล้วปริมาณมากยังมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวันซึ่งนำไปสู่การลดลงของคุณภาพชีวิต ยาอาร์โมดาฟินิลซึ่งเป็นยากระตุ้นการตื่นตัวนั้นได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ในผู้ป่วยภาวะหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับที่รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างเหมาะสมแต่ยังมีภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพของการเริ่มใช้ยาอาร์โมดาฟินิลตั้งแต่ระยะเริ่มต้นในกลุ่มผู้ป่วยภาวะหายใจอุดกั้นขณะนอนหลับที่รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องเกือบเหมาะสม ที่มีภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาจากเหตุไปผลแบบไปข้างหน้าระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยภาวะหายใจอุดกั้นขณะหลับที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องเกือบเหมาะสม จำนวน 30 คน อาสาสมัครวิจัยที่เข้าเกณฑ์การวิจัยจะได้รับประทานยาอาร์โมดาฟินิล ขนาด 150 มิลลิกรัม ต่อเนื่องวันละ 1 ครั้งตอนเช้า โดยอาสาสมัครยังคงใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกต่อเนื่องเช่นเดิม ผู้วิจัยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพก่อนและหลังรับประทานยาอาร์โมดาฟิลนิล ได้แก่ แบบทดสอบระดับความง่วงนอนเอ็บเวิร์ด คะแนนแบบสอบถาม Clinical Global Impression (CGI) การทดสอบดัชนีออสเลอร์ (Osler error index) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก (PSQI) แบบบันทึกคุณภาพการนอนหลับ และรายงานผลข้างเคียงตลอดการเข้ารับงานวิจัย ผลการศึกษา อาสาสมัครจำนวน 17 คน จาก 30 คน รับประทานยาครบ 12 สัปดาห์ พบว่าค่าแบบทดสอบระดับความง่วงนอนเอ็บเวิร์ดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการเปรียบเทียบที่ 12 สัปดาห์หลังรับประทานยา จากค่าเริ่มต้น 13±2.72 เหลือ 5+3.50 คะแนน (p <0.001) ค่าคะแนนแบบสอบถาม Clinical Global Impression (CGI) ให้คะแนนโดยผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากค่าเริ่มต้น 3.73±0.70 เหลือ 1.57±0.51 (p value < 0.001) และ 3.35±0.61 เหลือ 1.78±0.69 (p value < 0.001) ตามลำดับ ค่าคะแนนแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก (PSQI) พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากค่าตั้งต้น 9.76±3.78 เหลือ 5.35±3.49 (p value < 0.001) จากการศึกษาไม่พบราบงานการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง ซึ่งอาการทั้งหมดหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์หลังเริ่มรับประทานยา บทสรุป ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงมากที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องที่มีเวลาการใช้เครื่องเกือบเหมาะสมและยังมีภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน สามารถรับประทานยาอาร์โมดาฟินิลนาน 12 สัปดาห์ต่อเนื่องได้ดีและมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และผลข้างเคียงทั้งหมดสามารถหายได้เอง ยาอาร์โมดาฟินิลช่วยลดอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ประเมินผลจากการลดลงค่าคะแนนแบบทดสอบระดับความง่วงนอนเอ็บเวิร์ดและการลดลงของคะแนนแบบสอบถาม Clinical Global Impression (CGI) และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับจากคะแนนแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิตส์เบิร์ก (PSQI) ที่ลดลง-
dc.description.abstractalternativeBackground: Large number of obstructive sleep apnea (OSA) patients treated with continuous positive airway pressure (CPAP) still experienced excessive daytime sleepiness (EDS) which affect quality of life. Armodafinil, wakefulness promoting agent, is approved for treating EDS in OSA patients who still experience EDS after adequately treated with CPAP. To date, there are no studies that investigated effectiveness of early administration of Armodafinil in OSA patient treated with suboptimal CPAP usage and still experience EDS. Method: A 12-week prospective cohort study on 30 OSA patients with suboptimal CPAP usage who still experience EDS and naïve to armodafinil was conducted. Participants received 150 mg of Armodafinil per day and continued using CPAP while on treatment. Efficacy measurements included Epworth Sleepiness Scale (ESS), Clinical Global Impression (CGI), Osler error index, Pittsburg Sleep Quality Index (PSQI), and adverse events from treatment. Results: 17 patients from 30 patients were analyzed for preliminary results after Armodafinil therapy in 12 weeks. ESS is significantly decreased from 13±2.72 points at baseline therapy to 5.00±3.50 points (p value <0.001). CGI rated by investigator was significantly decreased from 3.73±0.70 to 1.57±0.51 (p value < 0.001) and CGI rated by patients was significantly decreased from 3.35±0.63 to 1.78±0.69 (p value < 0.001). PSQI was also significantly decreased from 9.67±3.99 to 5.35±3.49 (p value < 0.001). No serious side effects were observed and all of side effects are self-limited and subsided within 1 week after therapy initiation. Conclusion: In moderate to severe OSA patients with residual excessive daytime sleepiness after suboptimal usage of CPAP treatment, Armodafinil administered at 12 weeks period is generally well tolerated and have very small side effects that is self-limited. Armodafinil significantly improved daytime sleepiness indicated by reduction in ESS and CGI score, also significantly improved quality of sleep by decreased PSQI score.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1134-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -- การรักษา-
dc.subjectภาวะง่วงเกิน -- การรักษาด้วยยา-
dc.subjectSleep apnea syndromes -- Treatment-
dc.subjectNarcolepsy -- Chemotherapy-
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพของยาอาร์โมดาฟินิลในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางถึงมากที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องที่มีเวลาการใช้เครื่องเกือบเหมาะสมและยังมีภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน รูปแบบการศึกษาจากเหตุไปผลแบบไปข้างหน้า-
dc.title.alternativeEfficacy of Armodafinil in moderate to severe obstructive sleep apnea patients with residual excessive daytime sleepiness after suboptimal usage of continuous positive airway pressure treatment: a prospective cohort study-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1134-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370074830.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.