Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79559
Title: การศึกษาระดับยาเดกซาเมทาโซนในเลือดหลังการทดสอบการกดฮอร์โมนคอร์ติซอลด้วยยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม ในคนอ้วน 
Other Titles: Assessment of plasma dexamethasone level after 1 mg dexamethasone suppression test in adults with obesity
Authors: พิมลรัตน์ เผ่าพงษ์ไพบูลย์
Advisors: พัชญา บุญชยาอนันต์
ธิติ สนับบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เดกซาเมทาโซน
บุคคลน้ำหนักเกิน -- ผลกระทบจากยา
Dexamethasone
Overweight persons -- Effect of drugs on
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ประชากรอ้วนที่สงสัยกลุ่มอาการคูชชิ่งมีโอกาสเกิดผลบวกลวงได้มากถึงร้อยละ 15 เมื่อทดสอบการกดฮอร์โมนคอร์ติซอลด้วยยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม  วัตถุประสงค์ในการศึกษา: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับยาเดกซาเมทาโซนหลังรับประทานยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัมในประชากรที่ไม่มีโรคประจำตัวโดยเปรียบเทียบประชากรอ้วนกับประชากรน้ำหนักตัวปกติ วิธีการศึกษา: วัดระดับยาเดกซาเมทาโซนและฮอร์โมนคอร์ติซอลหลัง 1 มิลลิกรัมหลังทดสอบการกดฮอร์โมนคอร์ติซอลด้วยยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม และศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบประชากรอ้วน 62 คนกับประชากรที่ไม่อ้วน 30 คน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของระดับยาเดกซาเมทาโซน (P-value 0.09) และไม่มีความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวกาย เพศกับระดับยาเดกซาเมทาโซนในเลือด รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของสัดส่วนประชากรที่มีระดับยาเดกซาเมทาโซนมากกว่า 3.3 นาโนโมล/ลิตร ในแต่ละกลุ่มประชากรที่จำแนกตามดัชนีมวลกาย สรุปผล: ดัชนีมวลกายที่แตกต่างกันไม่ได้ส่งผลต่อเมแทบอลิซึมของยาเดกซาเมทาโซนในประชากรอ้วน ดังนั้นการวัดระดับยาเดกซามาทาโซนคู่กับการวัดคอร์ติซอลในเลือดหลังรับประทานยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม อาจไม่ช่วยลดภาวะผลบวกลวงในประชากรที่อ้วน
Other Abstract: Background: It has been reported that failure of cortisol suppression after 1-mg-DST in obese patients can be up to 15%.   Objective: To compare the plasma dexamethasone levels after 1-mg DST in healthy obese participants and in normal-weight participants. Methods: Blood measured for cortisol, plasma dexamethasone level after 1-mg DST. Plasma dexamethasone levels were quantified by using LC-MS/MS. Results: No significant difference of plasma dexamethasone levels was found between obese participants and normal-weight participants. There were no correlations between sex, BMI, BSA and the plasma dexamethasone levels. Also, there was no significant difference in the proportion of participants who achieved plasma dexamethasone levels more than 3.3 nmol/L in each group of obesity comparing to normal-weight participants. Conclusion: Our results suggest that BMI does not affect plasma dexamethasone levels so routine dexamethasone measurement may not help identifying cause of false-positive 1-mg DST in obesity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79559
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1150
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1150
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370090830.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.