Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79590
Title: | การตัดสินใจยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | The rice farmers' decision to accept the tailor-made fertilizer technology in bang Len district, Nakhon Pathom province |
Authors: | อรญา สบประสงค์ |
Advisors: | เขมรัฐ เถลิงศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Subjects: | ข้าว -- การปลูก -- ต้นทุน ข้าว -- ปุ๋ย Rice -- Planting -- Cost Rice -- Fertilizers |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การใช้ปุ๋ยที่มากเกินจำเป็นในการปลูกข้าว ทำให้เกิดเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดขึ้น แม้ภาครัฐจะส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อช่วยลดต้นทุนปุ๋ยของเกษตรกรและเพิ่มธาตุอาหารในดินให้ตรงกับความต้องการของพืช แต่เกษตรกรที่ยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดและนำมาใช้อย่างต่อเนื่องยังมีจำนวนน้อยมาก การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายได้สุทธิของเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ของเกษตรกรในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยการประมาณค่าแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้แบบจำลองโพรบิทและวิธีกำลังสองน้อยที่สุดในขั้นตอนที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรมีความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดสูงมากขึ้น ได้แก่ การมีหนี้สิน การได้รับการฝึกอบรม ระดับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ในขณะที่การรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจใช้เทคโนโลยี สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด ปัจจัยที่ส่งผลในทางบวกต่อรายได้สุทธิ ได้แก่ จำนวนแรงงานที่ใช้ปลูกข้าวในครัวเรือน ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด และการมีหนี้สิน ข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า การยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดที่เกิดขึ้นช้าและไม่แพร่หลายส่วนหนึ่งมาจากการที่เกษตรกรยังไม่เห็นประโยชน์จากปุ๋ยสั่งตัดมากนักเพราะต้นทุนแรงงานที่เกี่ยวข้องจากการผสมปุ๋ย หากภาครัฐสามารถสนับสนุนเครื่องมือที่ช่วยในการผสมปุ๋ย งบประมาณ หรืออุปกรณ์การตรวจธาตุอาหารหลักในดิน และการสื่อสารถึงประโยชน์ของปุ๋ยสั่งตัด น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสและความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ในอนาคต |
Other Abstract: | Excessive fertilizer use has resulted in the tailor-made fertilizer technology. Even though the government has encouraged farmers to use tailor-made fertilizers to help minimize fertilizer costs and improve nutrients in the soil to fulfill plant needs, only a small percentage of farmers have adopted and applied them consistently. This study focuses on the factors affecting tailor-made fertilizer technology adoption among rice farmers, as well as the effects on tailor-made farmers' net income. The data used in the study was collected from 208 rice farmers in Bang Len District, Nakhon Pathom Province and the probit model and ordinary least squares are used to identify significant factors determining the technology adoption and the adopters’ net income. Results showed that debt, soil and fertilizer training, knowledge of tailor-made fertilizer technology, and perceived ease of use made farmers more likely to adopt the tailor-made fertilizer technology, while perceived usefulness of the tailor-made fertilizer had no significant effect on the adoption decision. For the tailor-made fertilizer adopters, the factors that positively affect their net income are household labor force, knowledge of tailor-made fertilizer technology, and debt. The study showed that one reason behind the low level of tailor-made fertilizer adoption was because farmers perceived that the technology was not helpful enough. Their production cost could not be significantly reduced owing to more labor required in the fertilizer mixing step. Therefore, one policy recommendation for the government to increase rice farmers' willingness to adopt tailor-made fertilizer technology is to support farmers with fertilizer mixing equipment/ machine and soil testing equipment including more effective communication about the usefulness of the technology. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79590 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.477 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.477 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6085174229.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.