Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ | - |
dc.contributor.advisor | อวยพร เรืองตระกูล | - |
dc.contributor.author | สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T04:30:35Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T04:30:35Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79625 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการ (2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า (3) ทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า และ (4) เสนอแนะแนวทางในการนำโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่าไปใช้ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ จำนวน 532 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินผลงานนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอ้างอิงโดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างมีความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือด้านอภิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านพฤติกรรมทางวัฒนธรรมและด้านปัญญาทางวัฒนธรรม 2) โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า ประกอบ ด้วยการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม การสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรม การเผชิญกับสถานการณ์ทางวัฒนธรรม การสะท้อนกลับระหว่างผู้เรียน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด และการพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติของตนเอง จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสร้างคุณค่า 5 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเชิงลึก กำหนดโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การระดมความคิดเห็น การสร้างสินค้าหรือบริการต้นแบบ และการทดสอบ โดยมีระยะเวลาในการเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 30 ชั่วโมง แบ่งเป็นครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมงจำนวน 10 ครั้ง 3) ระดับของความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า นักศึกษาอุตสาหกรรมบริการมีความฉลาดทางวัฒนธรรมภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความแตกต่างกันมากที่สุด คือ ด้านปัญญาทางวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรมทางวัฒนธรรม ด้านอภิปัญญาทางวัฒนธรรม และด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรม ตามลำดับ 4) การนำโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างคุณค่าไปปรับใช้กับนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการสามารถนำไปใช้ได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งความเกี่ยวข้องด้านความฉลาดทางวัฒนธรรมและแนวคิดการพัฒนาคุณค่า การนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร การนำไปเป็นหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ การนำไปปรับใช้ในรูปแบบของสหกิจศึกษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งของสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการอย่างชัดเจน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเปิดเป็นรายวิชาเฉพาะของระดับอุดมศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ตามอัธยาศัยตามความสนใจของผู้เรียนเอง และการเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิต | - |
dc.description.abstractalternative | This research aims to (1) study the level of cultural intelligence of service industry students, (2) develop a program to promote the cultural intelligence of hospitality industry students for value creation, and (3) experiment with a program to promote the cultural intelligence of hospitality industry students for value creation, and (4) suggest ways to implement a program to promote cultural intelligence of hospitality industry students for value creation in higher education. The sample used were 532 students studying the hospitality industry were obtained through stratified random sampling. Research tools include service industry a program to promote cultural intelligence of hospitality industry students for value creation, observation, interview form, and questionnaires. Data analysis with content analysis, descriptive statistics, and inferential statistics using t-test and confirmatory factor analysis (CFA) were conducted using the statistical software. Finding found that 1) The study sample had a high level of cultural intelligence. When considering each factor, it was found that the sample group had the highest cultural intelligence on motivational CQ. followed by metacognition CQ, behavioral CQ, and cognition CQ. 2) A program to promote cultural intelligence of hospitality industry students for value creation is complemented by the development of cultural intelligence in six stages, including cultural awareness, cultural experiences, facing cultural situations, reflection from both the learner and the teacher, group discussion and exchange of ideas, and developing them into their practices, and then entering a five-step of the value creation process: empathize, define, ideate, prototype, and test with a 30-hour program duration, divided into times. 3 hours at a time, 10 times. 3) The level of cultural intelligence of hospitality industry students after participation in the program was statistically significantly higher than before the program at .05. When considering each factor, hospitality industry students had a statistically significantly higher level of cultural intelligence after joining the program than before joining the program at .05 at the .05 level for all factors. The most different factors were cognitive CQ, followed by behavioral CQ, metacognitive CQ, and motivational CQ, respectively. 4) Applying a program to promote the cultural intelligence of hospitality industry students for value creation can be applied in a variety of ways. Whether it is part of a related subject, both cultural intelligence relevance and value development concepts are relevant. Adoption is a curriculum of the Higher Education Institute in the hospitality industry. Adoption is in the form of cooperative education that relies on the cooperation of both educational institutions and establishments, professional experience training, opening up as a specific course of higher education, as well as learning at your attention and studying to accumulate credits. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1169 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความฉลาดทางวัฒนธรรม | - |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนการสอน | - |
dc.subject | Cultural intelligence | - |
dc.subject | Activity programs in education | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการสร้างคุณค่า | - |
dc.title.alternative | Development of a program to promote cultural intelligence of hospitality industry students for value creation | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.1169 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5984225027.pdf | 4.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.