Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขนบพร แสงวณิช-
dc.contributor.authorรวิธ รัตนไพศาลกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:30:48Z-
dc.date.available2022-07-23T04:30:48Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ มีเป้าหมายเพื่อการจัดการศึกษาระยะสั้นแก่เยาวชนในฐานะแรงงานสร้างสรรค์ของภาคเหนือให้สามารถออกแบบนวัตศิลป์ที่นำเสนอเรื่องราวและคุณค่าเดิมของศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและคุณค่าใหม่ตามแนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อันจะนำไปสู่การมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และสามารถนำไปแข่งขันเชิงนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร นวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา และประเมินคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น ประกอบด้วย 1) เยาวชนในภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบ จำนวน 5 คน และ 3) ผู้ประกอบการด้านนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการประเมินคุณภาพหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน และ 2) เยาวชนที่มีความสนใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และอยากพัฒนาต่อยอดธุรกิจนวัตศิลป์ล้านนา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบสะท้อนความคิด และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ ด้านความรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ด้านความรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมล้านนา ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และด้านการออกแบบหลักสูตร โดยพบว่าการมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงที่สุด เท่ากับ 0.364  2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการคิดเชิงออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาและมีแนวทางในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรมีลักษณะเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบูรณาการเนื้อหาข้ามศาสตร์ (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ และ (3) ด้านการออกแบบหลักสูตร และ 3) ด้านภาพรวมของคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.219) โดยภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผลการสะท้อนคิดของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03, S.D. = 0.780) และผลความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄ = 4.46, S.D. = 0.338)-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of Innovative Arts curriculum development from Lanna cultural capital for youths using design thinking is to provide a short-term education that promotes the Northern youth as a creative worker and enabling them with a capability to present Lanna Art and Culture stories and original values through value-added products that is in line with the renewed values of the creative economy and design thinking approach. Ultimately, this should bring about opportunities for building one-of-a-kind businesses that is innovatively competitive and would help drive Thai economy prospectively. This research study was conducted through research and development method aiming to investigate the requirements for curriculum development, to develop Innovative Arts curriculum from Lanna cultural capital, and to assess the quality of the curriculum. The sample groups used to investigate the requirements for curriculum development were 1) 400 youths in the upper northern Thailand selected by accidental sampling, 2) 5 design thinking experts, and 3) 5 innovative arts from Lanna cultural capital entrepreneurs selected by purposive sampling. The participants for curriculum quality assessment were 1) 3 curriculum development and instructing experts and 2) 9 youths who is a product design enthusiast and is eager to develop the Lanna innovative arts business, selected through purposive sampling and has met the inclusion criterion. The data were collected through questionnaire, structured interview protocols, curriculum evaluation form, reflective thinking evaluation form, and satisfaction survey form. The quantitative data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNIModified), while the qualitative data were analyzed by content analysis. The research findings indicated that 1) the requirements for Innovative Arts curriculum development from Lanna cultural capital for youths using design thinking consisted of the six following areas: (1) applicable knowledge and skills to benefit others, (2) the knowledge on design thinking, (3) the ability to build innovation, (4) the knowledge on Lanna cultural capital, (5) teaching and learning approaches, and (6) curriculum design and development. The most crucial requirement was to focus on developing entrepreneurial knowledge and skills with a PNIModified index of 0.364. 2) The curriculum was developed as a short course to provide youths with design thinking and creative entrepreneurial experience in order to create Innovative Arts from Lanna cultural capital and to establish guidelines for self-development and professional progress in the present and future. There were three specific aspects to the curriculum: (1) cross-disciplinary integrated content, (2) learning management, and (3) curriculum design and development. 3) The overall quality of the developed curriculum was at the highest level of appropriateness (x̄ = 4.83, S.D. = 0.219). After conducting an experiment on learning activities in the latter stage, it was found that the learners’ overall reflective thinking was at a high level (x̄ = 4.03, S.D. = 0.780) and the learners' satisfaction rate with the curriculum was at a satisfactory level (x̄ = 4.46, S.D. = 0.338).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1035-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการออกแบบผลิตภัณฑ์-
dc.subjectทุนทางวัฒนธรรม-
dc.subjectการออกแบบ -- การศึกษาและการสอน-
dc.subjectProduct design-
dc.subjectCultural capital-
dc.subjectDesign -- Study and teaching-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ-
dc.title.alternativeInnovative arts curriculum development from Lanna cultural capital for youths using design thinking-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineศิลปศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1035-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183371227.pdf10.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.