Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79661
Title: การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา
Other Titles: Development of primary school academic management innovation based on the concept of collaborative evaluation and stem education goals
Authors: ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่
Advisors: สุกัญญา แช่มช้อย
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
การบริหารการศึกษา
Elementary schools -- Administration
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ การประเมินแบบร่วมมือ และเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ศึกษาในประชากรโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายสะเต็มศึกษาจำนวน 26 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล กรอบแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือ ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในหลักการเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจัดทำข้อตกลงร่วมในเรื่องข้อมูลที่จะต้องเก็บรวบรวม วิธีการ และเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จัดทำรายงานการประเมินและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และจัดส่งข้อมูลย้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนด้วยการประชุมปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางแผนการประเมินระยะต่อไป และกรอบแนวคิดเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย การบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน พัฒนาการประกอบอาชีพ และสร้างนวัตกรรม 2) การบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือด้านการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 3) แนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ 16 แนวปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 12 แนวปฏิบัติ และการประเมินผล 20 แนวปฏิบัติ และ 4) นวัตกรรมการบริหารวิชาการ คือ “นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลแบบร่วมมือสู่เป้าหมายของสะเต็มศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ นวัตกรรมนโยบายและแผนพัฒนาวิชาการ นวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการประเมินผล
Other Abstract: The research objectives were 1) to study the conceptual frameworks of academic management (AM), collaborative evaluation (CE), and STEM education goals (STEMedGs), 2) to study the priority needs index (PNI) and desirable states (DS) of primary school AM based on the concept of CE and STEMedGs, 3) to study the good practices of primary school AM based on the concept of CE and STEMedGs, and 4) to develop the primary school AM innovation based on the concept of CE and STEMedGs. Multiphase mixed methods research design was used. The study was conducted in a population, 26 primary STEM schools. Assessment forms, questionnaires, and interviews were used. The data were analyzed by frequency, mean, SD, PNI, and content analysis. The research findings showed that 1) The AM framework consists of; Policy formulation and academic development plans (PF&ADP), Curriculum development (CD), Learning management (LM), and Evaluation (EVA). The CE framework consists of; Stakeholders conclude on evaluation principle, Stakeholders conclude on what, when, and how data will be gathered, Gather data from all stakeholders, Prepare evaluation reports and recommendations from all sectors, and Provide feedback to all stakeholders with interactive workshops and planning the next evaluation phase. The STEMedGs framework consists of; integrating knowledge for Daily life problems solving, Career development, and Innovation creation. 2) The EVA has the greatest PNI, while the PF&ADP has the highest DS, 3) Good practices include; 16 PF&ADP practices, 12 CD&LM practices, and 20 EVA practices, and 4) AM innovation is "Collaborative policy and academic development plan, curriculum and learning management, and evaluation innovation toward STEM education goals for primary schools" which consists of 3 sub-innovation as follows; PF&ADP innovation, CD&LM innovation, and EVA innovation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79661
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.717
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.717
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184208927.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.