Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79686
Title: การพัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of play-based program using active play approach and social media to promote physical literacy of upper elementary school students
Authors: จักรี อย่าเสียสัตย์
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
สุธนะ ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: พลศึกษา -- การเรียนและการสอน (มัธยมศึกษา)
สื่อสังคมออนไลน์ในการศึกษา
กิจกรรมการเรียนการสอน
การเล่น
Physical education and training -- Study and teaching (Secondary)
Social media in education
Activity programs in education
Play
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 40 คนได้จากการสุ่มอย่างง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทดสอบด้วยสถิติที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ  ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิ่งสนุก สุขหัวใจ (2) กิจกรรมกระโดดหรรษาสร้างพลังขาไปด้วยกัน (3) กิจกรรมรับลูกเทนนิสประสานสัมพันธ์ (4) กิจกรรมขว้างลูกเทนนิสพิชิตเป้าหมาย (5) กิจกรรมบันไดลิงวิ่งว่องไว (6) กิจกรรมกระโดด โลดเต้น กล้ามเนื้อแข็งแรง (7) เลี้ยงลูกฟุตบอลเพิ่มความรวดเร็ว และ (8) เตะลูกฟุตบอลรักษาสมดุล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.90 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The aim of this research was: 1) Develop a play-based program using an active play approach and social media to promote the physical literacy of upper elementary school students. 2) Effectiveness of the program was assessed using 40 upper elementary school students from 1 school, who volunteered and passed the criterion. Data were collected three times, before the experimental, after the experimental 8 weeks and follow-up after 4 weeks. Data was analyzed using descriptive statistics, t-test, and repeated measures ANOVA. The research finding was as follows: 1) The development program consisted of 8 activities: (1) Fun running activity, heart happiness (2) Fun jumping activity to build leg power together (3) Tennis ball pick-up activity (4) Tennis ball throwing activity to achieve goal (5) Monkey ladder activity running fast (6) Jumping, dancing, strong muscles (7) Dribbling activity the soccer ball increases speed and (8) Touching the balance soccer ball, which had an index of congruence of 0.9. 2) The effectiveness of the developed program resulted in statistically significantly higher mean scores of physical literacy among the experimental group than the control group in the post–trial and follow–up periods at the .05 level, and the mean scores of physical literacy of the experimental group after the experiment and the follow–up period were significantly higher than before the experiment at the .05 level; The physical literacy of the control group after the experiment and the follow-up period was not significantly different from before the experiment at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79686
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1095
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1095
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281006127.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.