Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79687
Title: | การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะ EF และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์ |
Other Titles: | Development of executive function and motor competency program of upper elementary school students using creative dance and storyline approaches |
Authors: | ปาริชาต ประกอบมาศ |
Advisors: | สุธนะ ติงศภัทิย์ จินตนา สรายุทธพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การคิดเชิงบริหาร (ประสาทจิตวิทยา) การเคลื่อนไหวของมนุษย์ การเต้นรำ -- การศึกษาและการสอน Executive functions (Neuropsychology) Human mechanics Dance -- Study and teaching |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์ 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 48 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม คือ (1) โจรสลัดตะลุยเกาะมหาสมบัติ (2) เงื่อนไขของหมีตัวใหญ่ (3) เพลิงอัคคี (4) แมงมุมยักษ์ผู้เฝ้าประตู (5) แรดเผือกริมลำธาร (6) กำแพงเยลลี่ผลไม้ (7) สัญลักษณ์วงสีแดง (8) เต้นเฉลิมฉลอง ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to: 1) develop executive function and motor competency program of upper elementary school students using creative dance and storyline approaches and 2) evaluate the effectiveness of executive function and motor competency program of upper elementary school students using the developed creative dance and storyline approaches. The study samples consisted of 48 upper elementary school students. By means of simple random sampling, those samples were chosen from students in one school that voluntarily participated in the developed program and met the inclusion criteria. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows: 1) The developed program consisted of eight activities including (1) Pirates on the Treasure Island (2) The Conditions of the Big Bear (3) Blazing Flame (4) Giant Spider the Gatekeeper (5) White Rhino by the Stream (6) Fruit Jelly Wall (7) Red Circle Symbol and (8) Celebration Dance. This program was rated at the most suitable level. 2) At post-experiment period, it was found that the effectiveness of the developed program has resulted in a statistically significantly higher mean of executive function and motor competency within the students in the experiment group than the students in the control group at .05. Moreover, the executive function and motor competency of the students in the experiment group were significantly increased after the experiment at .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79687 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1099 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1099 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281018727.pdf | 6.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.