Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7969
Title: การวางแผนปฏิบัติการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท่าน้ำสามเสน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Participatiory action planning for housing development in Tanam-Samsain community, Bangkok
Authors: ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
ปฐมา หรุ่นรักวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ที่อยู่อาศัย
การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ท่าน้ำสามเสน (กรุงเทพฯ)
การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนให้สามารถเรียนรู้จัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ด้วยตัวเอง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท่าน้ำสามเสน ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนท่าน้ำสามเสน โดยผู้วิจัยได้ร่วมปฏิบัติการกับชาวบ้าน, ผู้เชี่ยวชาญ, หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตามแนวทฤษฎีการวางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ ศึกษาปัญหา อุปสรรค รวมถึงวิเคราะห์ ข้อดีและข้อจำกัดของกระบวนการทำงานเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะ โดยการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชนและการลงปฏิบัติการจริงร่วมกับชาวชุมชนเป็นระยะเวลา 7 เดือน ชุมชนท่าน้ำสามเสนเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่5 อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีประมาณ 335 หลังคาเรือน 420 ครอบครัวและมีประชากรประมาณ1,831 คน โดยสภาพเศรษฐกิจ,สังคมและที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างหลากหลาย และที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีความหนาแน่นและสภาพทรุดโทรม ในปี2527 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้พัฒนาชุมชนท่าน้ำสามเสนโดยการสร้างอาคารพักอาศัยสูง 6 ชั้น แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากชาวชุมชนยังไม่สามารถตกลงรับทราบหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการเข้าอยู่อาคารที่สำนักงานทรัพย์สินฯกำหนดให้ได้ จนกระทั่งปี 2548 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีนโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนอีกครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีกลุ่มสถาปนิกชุมชนเพื่อที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม (Community Architects for Shelter and Environment :CASE) เป็นที่ปรึกษาและร่วมทำงาน และมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์กรมหาชน)หรือ พอช. เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านงบประมาณ การปฏิบัติการมีเป้าหมายให้ได้ผังชุมชน และรูปแบบการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเบื้องต้นที่มาจากความต้องการและการทำงานของชาวชุมชน การปฏิบัติการแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1. การตระหนักถึงปัญหาและโอกาส 2.วางเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการ 3.ระดมความคิดวางแผนปฏิบัติการ 4. การปฏิบัติการตามแผน 5.วิเคราะห์ – สรุปข้อมูล ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติการ พบว่าชาวชุมชนไม่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมทำงานเนื่องจากไม่มีความไว้ใจและเชื่อมั่นในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพราะมีประสบการณ์ในแง่ลบจากการพัฒนาในครั้งก่อน ประกอบกับไม่เข้าใจในกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมเนื่องมาจากไม่ประสบความเดือดร้อนร่วมกัน ทำให้ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นชุมชนได้อย่างแท้จริง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานรวมถึงใช้เทคนิคและเครื่องมือในการแก้ปัญหาทำให้สามารถทำงานต่อไปได้ จนในท้ายสุดได้ผังชุมชนปรับใหม่และรูปแบบการปรุงปรุงที่อยู่อาศัยเบื้องต้นที่มาจากชาวชุมชนเอง ผลสรุปของงานวิจัยนี้ คือ ผังชุมชนที่ได้ไม่ใช่เป็นเพียงผังกายภาพที่สะท้อนความต้องการของชาวชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความเข้าใจในแนวทางการทำงานแบบมีส่วนร่วม กระตุ้นให้คนในชุมชนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการพัฒนาและเรียนรู้การจัดการการแก้ปัญหาต่างๆในชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่าชาวชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อสำนักงานทรัพย์สินฯมากขึ้น และเข้าใจแนวทางการทำงานของสถาปนิกที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงผู้ออกแบบแต่เป็นผู้ร่วมปฏิบัติการ ให้คำปรึกษา และประสานงานให้ชาวชุมชนได้เข้าใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของชาวชุมชนในการเรียนรู้ทำการพัฒนาตลอดจนแก้ปัญหาในด้านต่างๆด้วยตนเอง อันสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติการในครั้งนี้คือมุ่งหวังให้ชุมชนรู้จักพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองอันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: At present, the participatory process is a major means of developing housing. It encourages community members to share ideas in solving any arising problems. This thesis is action research into participatory action planning for housing development in the Tanam-Samsain community belonging to the Bureau of the Crown Property. The objective of this thesis is to study the process of housing development in Tanam-Samsain community. The researcher, community members, experts, government agencies and the private sector participated in studying the problems and analyzing the advantages and disadvantages of the participatory process so that recommendations can be made. The research involves the study of the fundamental data of the community and the 7-month period of conducting participatory action. The Tanam-Samsain community is an age-old community set up during the reign of King Rama V and is on the banks of the Chao Phraya River. With a population of 1,831, this community consists of 335 houses and 420 families whose socio-economic and housing conditions are different. Most houses are in a deteriorating condition. In 1984, the Bureau of Crown Property built 6-storey residential buildings for them. However, this project could not be carried out because the community members did not agree to the conditions required by the Bureau. In 2005, the Bureau launched the plan again. This time the Bureau asked the Community Architects for Shelter and Environment (CASE) to be the consultant and co-worker. The Institute of Community Development financed the project. The action aims to materialize the community planning and primary planning for housing development based on the need and the participation of the community members. The action can be divided into 5 phases: 1. Identification of problems and opportunities, 2. goal setting and prioritization of problems and needs, 3. brainstorming, 4. execution and 5. the analysis and summary of problems arising during the operation. It is found that the members do not fully cooperate because they do not trust the officials. They have negative feelings towards these officials because of the first development project attempted by the Bureau. In addition, they do not understand the process of participatory action. All members do not face the same problem so they work as one group. As a result, changes in techniques and research instruments have to be made to carry out the research and achieve the goal. It can be concluded that the obtained community planning not only reflects the need of the community but can also be used as a tool to make the community members understand how to work together. This encourages the members to participate in development and learn to deal with the problems. Moreover, the members have more positive feelings towards the Bureau and realize that the architects not only design the plan but also give advice. This promotes the members’ confidence in solving problems by themselves, which is in line with the objective of this research aiming to help community members to depend on themselves. Such self-reliance leads to sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7969
ISBN: 9745326429
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasikan.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.