Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79702
Title: | แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลโดยใช้คราวด์ซอร์สซิ่งและการทำเหมืองข้อความ |
Other Titles: | Guidelines for promoting desirable characteristics of vocational students in the digital age using crowdsourcing and text mining |
Authors: | กนิศ์พิชญา อัฐมาธิตภักดี |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | นักเรียนอาชีวศึกษา บทบาทที่คาดหวัง Vocational school students Role expectation |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลที่เป็นประโยชน์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปได้จริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรอาชีวศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 3) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัล โดยการรวบรวมข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) การรวบรวมข้อมูลจากหลักสูตรอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในช่วงปี 2562-2563 และ 2) การรวบรวมข้อมูลคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย จำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและต่างประเทศ การศึกษาคุณสมบัติในการสมัครงาน (job description) และการศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการ ที่ได้จากการประยุกต์ใช้คราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) และการทำเหมืองข้อความ (text mining) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เครือข่ายข้อความ (text network analysis) ด้วยโปรแกรม R และประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (cross–impact analysis) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่หลักสูตรต้องการร่วมกัน เช่น ความรู้กฎหมายในงานอาชีพ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้โปรแกรมพื้นฐาน ทักษะการคิดคำนวณ การปรับตัว ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลที่สำคัญจำแนกตามกลุ่มความต้องการของตลาดแรงงาน พบว่า 1) กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ความรู้เมคคาทรอนิกส์ ทักษะการใช้โฟล์คลิฟ 2) กลุ่มเกษตรและประมง ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) กลุ่มธุรกิจและบริการ ได้แก่ ทักษะการขายออนไลน์ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการควบคุมต้นทุน ทักษะการประสานงาน ทักษะการเจรจาต่อรอง 3. ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดอยู่ในหลักสูตรกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มความต้องการของตลาดแรงงานแตกต่างกันไม่มากนัก (closeness= 0.156-0.239) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตรและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายมากที่สุด (closeness = 0.239) รองลงมาคือ กลุ่มธุรกิจและบริการ (closeness = 0.234) และกลุ่มเกษตรและประมง (closeness = 0.156) 4. แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในยุคดิจิทัล มีดังนี้ 4.1 แนวทางที่มีควาเป็นไปได้สูงสุดจำแนกกลุ่มตามความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรม คือ สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาส่งเสริมให้สถานศึกษาสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการในการพัฒนาหลักสูตรและขยายเครือข่ายการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Education) โดยการนำสถานประกอบการภาคเอกชนเข้ามาอยู่ในระบบอย่างต่อเนื่อง 2) กลุ่มเกษตรและประมง คือ ครูนำการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) มาบูรณาการให้เข้ากับรายวิชา และ 3) กลุ่มธุรกิจและบริการ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูสาขาวิชาการตลาดดิจิทัลร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจและบริการเพื่อช่วยโค้ช (coaching) 4.2 แนวทางที่มีผลกระทบทำให้เกิดแนวทางอื่นจำแนกตามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ฝ่ายนโยบาย ไม่มีแนวทางที่มีผลกระทบทำให้เกิดแนวทางอื่น 2) ฝ่ายผลิตบัณฑิต ได้แก่ 1. ครูจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทของการทำงานบนโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้น และ 2. ผู้อำนวยการสถานศึกษาพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในเรื่องทักษะการทำงาน (future skills) และ 3) ฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการจัด workshop นักศึกษาก่อนทำงานและมีการประชุมนักศึกษาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้นักศึกษาได้ประเมินตนเอง (self-assessment) 2. ผู้ประกอบการเสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3. ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับผู้ควบคุมนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์ โดยพัฒนาให้ผู้ควบคุมมีทักษะการโค้ช (coaching skill) เพื่อดึงศักยภาพจากนักศึกษาในการปฏิบัติงาน |
Other Abstract: | The desirable characteristics of vocational students in the digital age are essential for working in a technology and innovation driven age. Therefore, there should be guidelines for promoting desirable characteristics of vocational students in the digital age that are useful and can be used by concerned. The objective of this research were 1) to analyze the desirable characteristics of vocational students defined in vocational curricula; 2) to analyze desirable characteristics of vocational students in the digital age from various sources; 3) to analysis of alignment between desirable characteristics defined in the curricula and desirable characteristics of vocational students in the digital age from a variety of sources; and 4) to suggest of guidelines for promoting desirable characteristics of vocational students in the digital age. In terms of data collected were 1) collected data from vocational curricula for vocational certificate and higher vocational certificate during the year 2019-2020 and 2) collected data from desirable characteristic of vocational students in the digital age from a various 3 sources include study documents and article in Thailand and other countries, study job description and entrepreneurial needs derived from the application of crowdsourcing and text mining. Then adopting text network used to analyzed by the R Program and evaluate the possibilities of a guideline with cross–impact analysis. The key research findings were as follows: 1. Desirable characteristics of vocational students that the curricula mutually desires, such as occupational laws knowledge, information technology skills, English communication skills, basic program skills, computational thinking skills, adaptation, problem solving skills and analytical skill. 2. The key desirable characteristics of vocational students in the digital age by labor market groups findings were as follows: 1) industry groups such as mechatronics knowledge and forklift skills. 2) agriculture and fisheries groups such as problem solving skills and analytical skill and 3) business and service groups such as online sales skills, entrepreneur skills, cost controller skills, coordination skills and negotiation skills. 3. The alignment between desirable characteristics defined in the curricula and desirable characteristics of vocational students in the digital age from a variety of sources seemed to align well (closeness= 0.156-0.239) for all the labor market group. The industry groups were the most of alignment between desirable characteristics defined in the curricula and desirable characteristics of vocational students in the digital age from a variety of sources (closeness = 0.239), followed by business and service (closeness = 0.234) and agriculture and fisheries (closeness = 0.156). 4. Guidelines for promoting desirable characteristics of vocational students in the digital age were as follows: 4.1 The most possibilities guidelines for promoting according to the needs of the labor market groups were as follows: 1) industry groups are Office of the Vocational Education Commission to encourage educational institutions to build cooperation with enterprises to develop the Dual Vocational Education system by continually bringing the private sector into the system. 2) agriculture and fisheries groups are that teachers use Problem-based Learning to integrate into the course. and 3) business and service groups are the director institution encourages teachers in the field of digital marketing to cooperate with entrepreneurs in the business and service sectors to help coaching. 4.2 Guidelines to impact resulted in other guidelines according to the concerned were as follows: 1) The policy department has no guidelines for promoting that impact other guidelines. 2) The graduate production department were as follows: 1. Teachers manage teaching and learning to better fit the context of working in the digital and 2. Director of educational institutions develop extra-curricular activities on future skills. and 3) The employer department were as follows: 1. Entrepreneurs organize student workshops before work and hold student meetings at least once a month for students to assess themselves. 2. Entrepreneurs enhance the use of information technology. and 3. Entrepreneurs give importance to student by developing the advisors to have coaching skills. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79702 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.874 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.874 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380014027.pdf | 6.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.