Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ-
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สุขสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-09-05T04:22:48Z-
dc.date.available2008-09-05T04:22:48Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741419015-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7977-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนสู่ชุมชนเพื่อช่วยลดช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนสู่ชุมชนและกระบวนการยอมรับของคนในชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารายกรณีที่โรงเรียนบ้านสามขาและชุมชนบ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาวิเคราะห์เอกสารและจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. กระบวนการเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนสู่ชุมชน สรุปกระบวนการเผยแพร่ตามแนวคิดของ Rogers (1983) มีขั้นตอน 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นความรู้ ใช้วิธีบอกกล่าวแบบเผชิญหน้าและการใช้ที่ประชุม เกี่ยวกับความรู้ หลักการ วิธีใช้ ICT (2) ขั้นการจูงใจ ใช้วิธีบอกกล่าวแบบเผชิญหน้าและการใช้ที่ประชุมเพื่อเชิญชวน โน้มน้าวและจูงใจให้เห็นถึงประโยชน์ของ ICT (3) ขั้นตัดสินใจ ใช้วิธีบอกกล่าวแบบเผชิญหน้าและที่ประชุมให้เห็นถึงประโยชน์ในการนำ ICT มาใช้ในโครงการการเรียนรู้ของชุมชน การอบรมการใช้ ICT และการศึกษาดูงาน (4) ขั้นการนำไปใช้ ให้ทดลองใช้ ICT ในโครงการการเรียนรู้ของชุมชน และการประเมินผลความสำเร็จของโครงการ (5) ขั้นยืนยันการใช้ ใช้วิธีการนำ ICT มาประยุกต์ใช้ในโครงการการเรียนรู้ของชุมชน 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผยแพร่ ประกอบด้วย ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1) ตัวแทนการเปลี่ยนแปลงภายนอกชุมชน คือ ประธานมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และองค์กรสนับสนุน (2) ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาภายในชุมชน คือ ผู้นำในโรงเรียนบ้านสามขาและทีมเยาวชน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งเสริมการยอมรับ คือ (1) สภาพชุมชนและวิถีชุมชน คือ ความเป็นชุมชนขนาดเล็ก, ระบบเครือญาติ, การมีส่วนร่วม, การเปิดใจรับสิ่งใหม่, การยอมรับฟังความคิดเห็นของชุมชน และ ผลกระทบและแรงสนับสนุนจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชม (2) การเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ (3) การเพิ่มขึ้นของจุดให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต (4) คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับ ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ด้านความเข้ากันได้ ด้านความสามารถในการนำไปทดลองใช้และด้านความสามารถสังเกตผลของนวัตกรรมได้ (5) คุณลักษณะของบุคคลที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรม ได้แก่ ด้านลักษณะสังคมและเศรษฐกิจ ด้านบุคลิกภาพและด้านพฤติกรรมการสื่อสาร ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการยอมรับ ได้แก่ (1) คุณลักษณะของนวัตกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการยอมรับนวัตกรรม ได้แก่ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพโดยตรง (2)ลักษณะของบุคคลที่เป็นอุปสรรคต่อการยอมรับนวัตกรรม ได้แก่ กลัวคอมพิวเตอร์/อายไม่กล้าฝึกใช้ การไม่รู้ภาษาอังกฤษ ลักษณะทางเศรษฐกิจและการขาดความมั่นใจ (3) ปัญหาทางเทคนิคของอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (4) สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย (5)ขาดการฝึกใช้อย่างต่อเนื่อง (6)ไม่มีลูกหลานฝึกให้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study : (1) diffusion process of information and communication technology from school to community to bridge digital divide by accessing technology and information (2) factors related to school’s diffusion process and community’s adoption process of information and communication technology. This case study was conducted in Baan Samkha school and Baan Samkha community, Meatha district, Lampang province. Qualitative method was used in this study. Questionnaires were used to obtain data on Computer and Internet ability. Empirical data were gathered through in-depth observation and interview, and document analysis. The findings summarized as the followings : 1. The process of diffusion of information and communication technology from school to community could be categorized into 5 steps based on Rogers’s innovation decision process (1983): (1) knowledge stage: face to face communication and meeting were used to inform about awareness and principles of ICT (2) persuasion stage: face to face communication and meeting were used to persuade about benefits of ICT (3) decision stage: face to face communication and meeting were used to convince about benefits of applying ICT to learning projects for community, training to use ICT, and educational field trips (4) implementation stage: trials of ICT materials in projects and projects evaluation (5) confirmation stage: applying ICT to learning projects for community. 2. Related factors of school’s diffusion process of ICT consists of (1) external change agents were president of Suksapattana foundation, directer of Constructionism Lab, Lampang province and supported organizations, (2) internal facilitators were a leader teacher of Baan Samkha school and youths team. Related factors of community’s adoption process of ICT were categorized as the influenced factors and the obstacle factors to adoption. The influenced factors were (1) way of community were: small size community, kinship, participation, open mind, community public opinion, and effects and supporting from visitors, (2) computer owner, (3) increasing computer and internet service places, (4) attributes of innovation were: relative advantage, compatibility, trialability, and observability, and (5) characteristics of adopter : socioeconomic and personality characteristics, and communication behavior. The obstacle factors were (1) attributes of innovation: non-relation for career, (2) characteristics of adopter: computer fearing, no English language literacy, economic characteristics, and no confidence to use ICT, (3) technical problems of satellite internet systems, (4) body ageing, (5) discontinuing use of ICT, and (6) no younger member of family to help.en
dc.format.extent2102976 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลen
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศen
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียนen
dc.titleการเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสามขาและชุมชนบ้านสามขา จังหวัดลำปางen
dc.title.alternativeDiffusion of information and communication technology from school to community : a case study of Baan Samkha school and community, Lampang provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpraweenya@yahoo.com-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudarat.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.