Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79920
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์-
dc.contributor.advisorพรนภา สุจริตวรกุล-
dc.contributor.authorพรชีวิน บรรจง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:53:01Z-
dc.date.available2022-07-23T04:53:01Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79920-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวแปรต่าง ๆในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีด้วยวิธีการแบบอินซิทู ต่อเฉดสี ความสม่ำเสมอของสี ความคงทนของสีต่อการซัก สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียและการป้องกันรังสียูวีบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สี นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกและผลของการย้อมทับด้วยสีแอซิดบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีต่อสมบัติต่าง ๆ ที่ศึกษาด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่ให้สมบัติต่าง ๆ ที่ศึกษาบนผ้าไหมที่ผ่านการให้สีดีที่สุดจากการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีด้วยวิธีการแบบอินซิทูบนผ้าไหมคือ สภาวะที่ใช้ความเข้มข้นของสารละลายซิลเวอร์ไนเตรต 2.0 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักผ้า อัตราส่วนระหว่างสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตต่อสารละลายไตรโซเดียมซิเตรตไดไฮเดรตเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิในการ ทรีต 90 องศาเซลเซียส ที่เวลาในการทรีต 90 หรือ 120 นาที ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 4.0 จากผลการทดลองพบว่าผ้าไหมที่ได้จากการทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเปลี่ยนจากเฉดสีขาวเป็นเฉดสีเทาอ่อนถึงเฉดสีน้ำตาลเหลืองอ่อนจนถึง สีน้ำตาลเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นซิลเวอร์ไนเตรตและอัตราส่วนระหว่างสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตต่อสารละลายไตรโซเดียมซิเตรตไดไฮเดรตที่ใช้ ถ้าใช้ความเข้มข้นสูงและอัตราส่วนที่สูงจะได้ผ้าไหมที่มีเฉดสีน้ำตาลเข้มเพิ่มมากขึ้น อุณหภูมิและเวลาในการทรีตผ้าไหมก็ช่วยในการเพิ่มเฉดสีให้เข้มขึ้นด้วยเช่นกันและยังช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอของสีบน ผ้าไหมด้วย ผลของการซักล้าง 20 ครั้ง พบว่าผ้าไหมที่เกิดจากการให้สีด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์มีความคงทนของสีต่อการ ซักล้างที่ต่ำมาก ความสามารถในการป้องกันรังสียูวียังคงรักษาได้ในระดับดี และความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรีย  S. aureus. ลดลงมาเหลือประมาณร้อยละ 50 ส่วนผลการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกและการย้อมทับด้วยสีแอซิดบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเพื่อช่วยในการปรับปรุงสมบัติที่ศึกษาให้ดีขึ้น สรุปได้ว่าการย้อมทับด้วยสีแอซิดช่วยปรับปรุงความคงทนของสีต่อการซักล้าง ความสามารถในการป้องกันกันรังสียูวี และสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย  S. aureus. ได้ดีขึ้นมากกว่าการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิก แต่วิธีการย้อมทับด้วยสีแอซิดสีน้ำเงินส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเฉดสีของผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สีเปลี่ยนเป็นสีเขียวซึ่งเกิดจากการผสมของสี ส่วนการใช้สารยึดติดชนิดอะคริลิกไม่มีผลกระทบต่อเฉดสีบนผ้าไหมที่ทรีตด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ให้สี-
dc.description.abstractalternativeThis research studied the effects of different factors used in an in-situ method for forming colored silver nanoparticles (AgNP) on the properties of silk fabric; namely color shading, color strength, relative unlevelness index color fastness to washing, antibacterial and UV protection properties.  In addition, improvement with an acrylic binder and post-blue acid dyeing on the mentioned properties of the obtained AgNP-treated silk fabric were also investigated. The results found that the optimum condition for treatment by the in-situ method was 2.0%owf of silver nitrate (AgNO3), AgNO3 to trisodium citrate (TSC) ratio at 1:3, exhaustion treatment at 90°C and time of treatment at 90 min or 120 min at pH 4.0. The results of AgNP-treated silk fabric obtained at the optimum condition showed that the color shading turned from bright white to light yellowish-brown and to deep yellowish-brown depending on the concentration of AgNO3 and the ratio of AgNO3 to TSC. The higher concentration of those two factors, the higher the dark brown shade on the AgNP-treated silk fabric. Moreover, temperature and time of treatment in the in-situ forming method also helped to improve the deepness of color shading and decrease relative unlevelness index of the AgNP-treated silk fabric. After 20 washes, the results showed that the color fastness to washing of AgNP-treated silk fabric was rated low. Antibacterial activity against S. aureus. of AgNP-treated silk fabric decreased to 50% of bacterial reduction, but UV protection ability was still in a good level. Improvement with the acrylic binder and post-blue acid dyeing treatments on the AgNP-treated silk fabrics showed that the post-blue acid dyeing treatment improved the color fastness to washing, UV protection, and antibacterial activity against S. aureus much better than those of acrylic binder. However, the post-blue acid dyeing treatment affected a shade change on the AgNP-treated silk fabrics, turning from deep yellowish-brown to deep greenish-yellow. On the contrary, the shade change was not detected when using the acrylic binder.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.862-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลของอนุภาคนาโนซิลเวอร์ต่อสมบัติการให้สี การต้านเชื้อแบคทีเรียและการป้องกันรังสียูวีบนผ้าไหม-
dc.title.alternativeEffects of silver nanoparticles on coloring, antibacterial and UV protection properties on silk fabrics-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.862-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6272018123.pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.