Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79960
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทอง-
dc.contributor.authorดีอนา คาซา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:57:18Z-
dc.date.available2022-07-23T04:57:18Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79960-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทยน่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการสื่อสารระหว่างกัน อีกทั้งในกรณีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทยนั้นก็ยังไม่มีงานวิจัยใดศึกษามาก่อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีที่ชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทยใช้ในการแสดงวัจนกรรมการสัญญา การขอ และการถามข้อมูลส่วนตัวตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษา และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม งานวิจัยนี้มีผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งหมด 163 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเติมเต็มและจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาพบว่า วัจนกรรมการขอและวัจนกรรมการถามข้อมูลส่วนตัวเป็น วัจนกรรมที่ค่อนข้างมีปัญหาระหว่างชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทย เพราะผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มมีเหตุผลเบื้องหลังต่างกัน จึงทำให้มีพฤติกรรมทางภาษาที่แตกต่างกันด้วย ส่วนวัจนกรรมการสัญญาแม้ว่าจะมีลักษณะปัญหาจากกลวิธีทางภาษาที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้แก่คู่สนทนา แต่ก็มีปัญหาน้อยกว่าวัจนกรรมการขอและวัจนกรรมการถามข้อมูลส่วนตัว ส่วนผลการวิจัยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรมพบว่า ลักษณะปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากบรรทัดฐานในการปฏิสัมพันธ์ที่ต่างกัน ปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจาก การตีความเจตนาของถ้อยคำผิด และปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากการเข้าใจความหมายของคำไม่ตรงกัน ทั้งสองฝ่ายต่างมี การจัดการความสัมพันธ์แตกต่างกัน ชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองมุ่งคำนึงถึงการจัดการกับสิทธิทางสังคม โดยเฉพาะ “สิทธิด้านความเกี่ยวข้อง” ขณะที่ชาวไทยมักคำนึงถึงการจัดการกับหน้า โดยเฉพาะ “หน้าเชิงคุณภาพ” เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในการปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมอินโดนีเซียที่มีบทบาทต่อการปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ปัญจศิลา และความละอาย ส่วนปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ “หน้า” ความเกรงใจ และน้ำใจ-
dc.description.abstractalternativeStudying the interactions between Indonesian users of Thai as a second language and native speakers of Thai may decrease communication problems between them. To date, few investigations have examined these interactions. Therefore, the present study aims to compare linguistic strategies that both Indonesian users of Thai as a second language and native speakers of Thai use their language for the speech acts of promising, requesting, and asking for personal information. This study follows the perspectives of interlanguage pragmatics and investigates problems and motivational concerns of the interactions based on intercultural pragmatics. The data for this study examines discourse complete tasks (DCTs) and in-depth interviews of 163 informants. The results based on the interlanguage pragmatics revealed that Indonesian users of Thai as a second language and native speakers of Thai faced communication problems when using speech acts of requesting and asking for personal information to some extent. This was because these two groups of speakers had different underlying perspectives. They therefore had different linguistic behaviors. Apart from these strategies, the speech act of promising was found to cause less communication problems, though its linguistic strategies were quite confusing to the interlocutors.       The results also showed three types of interaction problems related to intercultural pragmatics: problems caused by different interaction norms, misinterpretation of illocutionary act, and misunderstandings of the meaning of utterances. Indonesian users of Thai as a second language and native speakers of Thai also had different rapport management. The Indonesian users of Thai as a second language tended to focus on sociality rights, specifically “association rights.” Meanwhile, the native speakers of Thai tended to place higher importance on motivational concerns associated with face management, particularly “quality face” to maintain relationships during interactions. They also differed in that Indonesian socio-cultural factors related to interaction were Islam religion, Pancasila and shame, whereas Thai socio-cultural factors included /nâa/ (“face”), /kreeŋjay/ (a fear of troubling another's heart) and /náamjay/ (kindness).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.783-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการปฏิสัมพันธ์ของชาวอินโดนีเซียที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองกับชาวไทย: การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์อันตรภาษาและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม-
dc.title.alternativeInteractions of Indonesian users of Thai as a second language and native speakers of Thai: an interlanguage and intercultural pragmatic study-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineภาษาไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.783-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080505422.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.