Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80032
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญ รัชฎาวงศ์-
dc.contributor.advisorวัฒนชัย สมิทธากร-
dc.contributor.authorครองขวัญ ข่วงบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:12:53Z-
dc.date.available2022-07-23T05:12:53Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80032-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractจากปริมาณของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 20-30 ปีจากการติดตั้งในช่วงพ.ศ. 2545-2558 อาจจะเป็นน้ำหนักได้ถึง 235,954 ตัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยนิยมใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอน ซึ่งแผงประเภทนี้มีปริมาณกระจกมากถึงร้อยละ 70-80 โดยน้ำหนักขององค์ประกอบแผง การจัดการของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในขณะนี้มีการกำจัดด้วยการนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนเพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างไร้ประโยชน์ ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการนำกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอนนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยทำการศึกษาผลกระทบต่อสมบัติต่างๆของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์ด้วยกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์บดละเอียดขนาด d50 ที่ 4.97 ไมโครเมตร  ที่ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณผงกระจกจะทำให้ ค่าการขยายตัวของซีเมนต์เพสต์มีค่าเพิ่มขึ้น ค่าการก่อตัวระยะต้นและระยะปลายของซีเมนต์เพสต์สั้นลง ค่าการไหลแผ่ของมอร์ตาร์มีค่าลดลง การซึมผ่านของคลอไรด์ในมอร์ตาร์ลดลง สำหรับกำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ช่วงอายุต้น พบว่ามอร์ตาร์ที่มีปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยผงกระจกร้อยละ 0 ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด แต่ที่อายุ 90 วัน มอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงกระจกร้อยละ 10 ให้กำลังรับแรงอัดที่สูงที่สุด เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิกใช้เวลานานกว่าจะเกิดปฏิกิริยา-
dc.description.abstractalternativeThe amount of photovoltaic panel waste generated during the next 20-30 years from the installation during 2002-2015 could be up to 235,954 tons. Most of them are crystalline silicon photovoltaic panel. This type of photovoltaic panel contains up to 70-80% of glass by weight. The current management of photovoltaic panel waste in Thailand is disposal in landfills, which is not sustainable since the resource is wasted, not recycled. This research focuses on the recycling of crystalline silicon photovoltaic panel glass. To study the effects on the properties of mortar whose cement contents were partially replaced by ground photovoltaic panel glass with the d50 of 4.97 micrometer.  The replacements were performed at 0%, 10%, 20% and 30%. The results showed that when glass powder addition was increased, expansion of cement paste subsequently increased, initial setting time and final setting time of cement paste, on the other hand, shorten, and percent flow of mortar decreased, Chloride permeability in the mortar was reduced. Compressive strength of mortar at the early age of 7, 28 and 56 days showed that the mortar with 0% of glass powder had the highest compressive strength. At 90 days, the mortar with 10 % of glass powder had the highest compressive strength. This was because the pozzolanic reaction took a long time to react.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.980-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการใช้ของเสียกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนในการผลิตมอร์ตาร์-
dc.title.alternativeUses of photovoltaic glass waste as cement replacement in mortar production-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.980-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170438521.pdf9.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.