Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80051
Title: การลดระยะเวลาการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก 
Other Titles: Reducing drying time for label printing
Authors: ณัฐพล บุญรักษา
Advisors: สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงพิมพ์กรณีศึกษาจำเป็นต้องลดระยะเวลาการผลิตงานพิมพ์ฉลากเพื่อให้ทันตามความต้องการของลูกค้า งานวิจัยนี้ พบขั้นตอนการรอให้งานพิมพ์ฉลากแห้งตัวใช้เวลามากที่สุดในการผลิต มีวัตถุประสงค์ต้องการลดระยะเวลาแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก ผู้ศึกษาวิจัยพบว่าการรอแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก ใช้เวลามากถึง 72 ชั่วโมง จากเวลาการผลิต 159.5 ชั่วโมงหรือคิดเป็น 45 %  จึงตั้งคณะทำงานจำนวน 6 คนเพื่อระดมสมอง (Brainstorming) และหาปัจจัยที่จะส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลากโดยใช้แผนภาพก้างปลา (Fish bone) ในด้านต่างๆคือ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) กระบวนการทำงาน (Method) วัตถุ (Material)  และสิ่งแวดล้อม (Environment) พบปัจจัยทั้งหมด 15 ปัจจัยที่คาดว่าส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลาก นำปัจจัยให้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล (Cause & Effect Matrix) และใช้กฎพาเรโต (Pareto) กฎ 80/20  ในการเรียงลำดับคะแนนความสำคัญ ซึ่งได้ 6 ปัจจัยคือ 1.ปริมาณของเม็ดสีในหมึกพิมพ์ 2.ปริมาณการปล่อยสารเคลือบ 3.ปริมาณการปล่อยหมึกพิมพ์ 4. อุณหภูมิห้องปิด 5.ปริมาณสารเร่งแห้งในหมึก 6. ปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบและออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการแห้งตัวโดยเลือกการทดลองแบบฮาฟแฟคทอเรียล (Half-Factorial Design) หลังการทดลองพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการแห้งตัวของงานพิมพ์ฉลากคือ1)ปริมาณสารเคลือบ2)ปริมาณสารเร่งแห้งในหมึกและ3)ปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบ นำสามปัจจัยดังกล่าวมาออกแบบการทดลองหาระดับที่เหมาะสมเพื่อให้ฉลากแห้งเร็วที่สุดแต่ต้องไม่มีปัญหาด้านคุณภาพ ผลลัพธ์คือระดับปริมาณสารเคลือบ20% สารเร่งแห้งในหมึก3% และปริมาณสารเร่งแห้งในสารเคลือบ3% และทดสอบกับตัวอย่าง5 ชุดการทดลองเพื่อยืนยันผลการทดลองโดยอ้างอิงระดับปัจจัยการจากทดลองพบว่าระยะเวลาแห้งตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 31 ชั่วโมง จากเดิม 72 ชั่วโมง เวลาในการแห้งตัวลดลง 41 ชั่วโมง คิดเป็น 56 % 
Other Abstract: Factory to reduce the production time of label printing in order to respond the needs of customers. This research collecting data for the duration of work at every step. The most time consuming process in production is waiting for label printing to dry, which took 72 hrs. out of the total production time of 159.5 hrs., or 45% of the production time. A team of 6 people was set up to brainstorm and determine the factors. Factors: Man, Machine, Method, Material, and Environment. Team gets 15 factors by Fish bone diagrams.15 Factors were evaluated on the Cause & Effect Matrix .Used the Pareto diagram to find 6 factors: 1.Pigment volume in the ink.2.Coating volume 3.Ink Volume 4. Room temperature 5. Drying additive volume for ink 6. Drying additive volume for coating. The Design of experiment (DOE) was carried out to determine the factors affecting the drying time by choosing a half-factorial experiment. The number of experiment was 26-1 = 32 experiments. Found that the factors affecting to the drying of the labels were 1) Coating volume 2) Drying additive volume for ink 3) Drying additive volume for coating. Three factors above were taken into the experimental design again to determine the optimal level of factors that make label dry quickly without quality problems. The result of optimization is Coating volume of 20 %, Drying additive volume for ink is 3 %, and Drying additive volume for coating is 3 %. Additionally, ensure the result of optimal factor level by testing with 5 sample.The average drying time was 31 hrs. from 72 hrs. drying time, decrease of 41 hrs. or 56%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80051
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.993
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270087521.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.