Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8009
Title: การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนวัดยายร่มกับชุมชนเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Communication for relationship building between Wat Yairom school and community in Chom Thong district, Bangkok
Authors: ลลิดา เปลี่ยนดี
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
การสื่อสารทางการศึกษา
ชุมชนกับโรงเรียน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการการสื่อสาร ปัจจัยการสื่อสาร และปัจจัยอื่นของโรงเรียน วัดยายร่มในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ประกอบกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการการสื่อสารขอโรงเรียนวัดยายร่มในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน "ผู้ส่งสาร" ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนวัดยายร่มที่ได้รับราชการและมีประสบการณ์ในอาชีพครูมากกว่า 10 ปี และเป็นผู้มีทักษะและความชำนาญด้านให้การศึกษา ทั้งยังมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่จะทำการสื่อสาร และต่อผู้รับสาร "สาร" โรงเรียนวัดยายร่มเลือกใช้สารที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน สารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน สารที่ชุมชนและผู้ปกครองจำเป็นต้องรับทราบและติดตามเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของโรงเรียน "สื่อ" โรงเรียนวัดยายร่มเลือกใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ ภายในโรงเรียน เช่น แผ่นพับ จุลสารยายร่มสัมพันธ์ จดหมาย สื่อกิจกรรม เช่น การประชุมตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองและแกนนำชุมชนการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การเยี่ยมเยียนบ้านนักเรียน สื่อบุคคล ได้แก่ การบอกเล่าจากปากต่อปากของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน รวมทั้ง สื่ออื่นๆ เช่น เวบไซด์ ป้ายผ้า คัทเอาน์ ป้ายประชาสัมพันธ์ "ผู้รับสาร" มีความแตกต่างและหลายหลายมากทั้งด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ แต่มีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียนวัดยายร่ม "ผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร" ชุมชนและผู้ปกครองได้เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการบอกต่อไปยังเพื่อนในกลุ่มของตนให้เข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนอีกด้วย 2. ปัจจัยการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนวัดยายร่มกับชุมชน โรงเรียนวัดยายร่มมีการสื่อสารทั้งในแบบทางเดียวและแบบสองทาง มีการสื่อสารทั้งแบบที่เป็นทางการและแบบที่ไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ยังใช้การสื่อสารทั้งแบบวัจนะภาษา และแบบอวัจนะภาษา รวมทั้งใช้การสื่อสารตามแนวดิ่งและแนวราบ 3. ปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนวัดยายร่มกับชุมชน ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. นโยบายของโรงเรียน 2. การวางแผนดำเนินงาน ปัจจัยรอง ได้แก่ 1. สภาพและขนาดของชุมชน 2. วิถีชิวิตของคนในชุมชน 3. ผู้นำและผู้ที่มีอิทธิพลในชุมชน 4. นโยบายทางด้านการศึกษาของภาครัฐที่สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ 5. หน่วยงานภายนอก บริษัท ห้างร้านที่สนับสนุนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
Other Abstract: The objective of this research were to study the communication process, the communication factors and other factors concerning relationship building between Wat Yairom school and community in Jomthong district, Bangkok. It is a qualitative research which was carried out by means of in-depth interview with 30 purposive key informants and nonparticipant observation including document study. The findings of the research were as follows: (1) The Communication Process ; "Senders" were school director, teachers and other personnel of Wat Yirom school who had skills in teaching more than 10 years and had positive attitude toward message and receivers. For "Message", senders chose messages that corresponded the real need of the people in the community, messages that supported students{7f2019} learning process both inside and outside classroom, messages that studiens' parents and people in the community must know about school{7f2019}s activities. For "Channel", senders used : 1. Internal printed media such as brochure, Yairom Sampan pamphlet and letter 2. Events such as meeting with community leaders and representatives of parent network, lauching PR walking campaign and visiting student homes. 3. Personal media such as word of mouth of students, teachers, people in the community and students' parents. 4. Other media such as website, cut-out, billboard and PR board. "Receivers" varied in education and occupation but had common positive attitude toward Wat Yairom school. For "Communication Effect", a large number of people in the community and parents joined the school{7f2019}s activities. They also encouraged others to join the activities. (2) Communication Factors : The school used both one-way and two-way communication, formal and informal communication. It also used verbal and nonverbal communication, horizontal and vertical communication. (3) Other Factors : There were primary and secondary factors affecting relationship building between Wat Yairom school and the community. The primary factors were: 1. school policy 2. school action planning. The secondary factors were: 1. community nature and size 2. community way of life 3. community leaders and influentials 4. government education policy supporting school 's activities 5. the supports of other public and private organizations.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8009
ISBN: 9741420919
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lalida.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.