Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80415
Title: ความหลากชนิดและการใช้พื้นที่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Species Diversity and Habitat Use of Amphibians and Reptiles in Huai Hong Khrai Watershed, Chiang Mai Provinc
Authors: ธนพงษ์ แก้วเกตุ
Advisors: ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
วิเชฏฐ์ คนซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -- ไทย -- เชียงใหม่
สัตว์เลื้อยคลาน -- ไทย -- เชียงใหม่
ความหลากหลายของสัตว์ -- ไทย -- เชียงใหม่
พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ (เชียงใหม่)
Amphibians -- Thailand -- Chiang Mai
Reptiles -- Thailand -- Chiang Mai
Animal diversity -- Thailand -- Chiang Mai
Huai Hong Khrai Watershed (Chiang Mai)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานแต่ละชนิดมีพื้นที่อาศัยที่แตกต่างกัน พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะพื้นที่ที่มีระบบนิเวศหลากหลาย ทั้งพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรและพื้นที่ระบบนิเวศธรรมชาติ โดยแต่ละพื้นที่จะมีการจัดการและการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานและตรวจสอบพื้นที่อาศัยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานแต่ละชนิดว่ามีที่อยู่อาศัยแตกต่างกันหรือไม่ ผู้วิจัยใช้วิธีสำรวจแบบพบเห็นตัว (Visual Encounter Survey) ในการสำรวจความหลากชนิด และระบุชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 13 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 6 ชนิด ในพื้นที่เกษตรกรรม และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 15 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 5 ชนิด ในพื้นที่ธรรมชาติ ทั้งนี้ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งสองพื้นที่นั้นมีค่าใกล้เคียงกันทั้ง Shannon–Weiner’s Index (1.9958 และ 2.1618 ตามลำดับ) และ Simpson’s Diversity Index (0.7525 และ 0.8363 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Sørensen Similarity Index) แสดงถึงความคล้ายคลึงในแง่ของชนิดร้อยละ 61.54 ในระหว่างสองพื้นที่ และเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติด้วย Chi–square test พบว่า อึ่งลายเลอะ (Microhyla butleri) และอึ่งน้ำเต้า (Microhyla mukhlesuri) ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าพื้นที่ธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่กบห้วยขาปุ่ม (Limnonectes taylori) อึ่งข้างดำ (Microhyla heymonsi) และอึ่งหลังขีด (Micryletta steingeri) ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติมากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่และการอนุรักษ์สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
Other Abstract: Amphibians and reptiles play an important role in ecosystems. They also existent in various habitats depending on their natural history. Huai Hong Khrai watershed area, Chiang Mai Province has diverse in ecosystems. Most of them are natural area and agricultural area. Each area has been managed and utilized differently. It may lead to be different in amphibian and reptile communities. The objectives of this study are first, examine diversity of amphibians and reptiles and second, examine their habitat use. The field surveys were conducted during July and December 2020. The results present 13 species of amphibians, 6 reptiles in the agricultural area and 15 species of amphibians, 5 species of reptiles in the natural area. The Shannon – Weiner's Index show that the index of natural area (2.1618) has slightly higher than that in agricultural area (1.9958). The Simpson's Diversity Index also show similar result that the index of natural area 0.8363 has slightly higher than that in agricultural area (0.7525). Besides that, Sørensen Similarity Index shows 61.54% similarity in species richness between the two areas. In order to examine habitat use, Chi–square tests were performed. The results present that Microhyla butleri and Microhyla mukhlesuri significantly prefer agricultural areas rather than natural areas. While the Limnonectes taylori, Microhyla heymonsi and Micryletta steingeri significantly prefer natural areas rather than agricultural area. Finally, the data obtained from this study can be used as a database for area management and conservation of amphibians and reptiles in Huai Hong Khrai watershed area, Chiang Mai Province.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80415
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-BIO-010_ Tanapong Ke_2563.pdf42.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.