Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80417
Title: เสียงร้องประกาศตนเองของอึ่งในสกุล Microhyla ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Advertisement Calls of Microhylid Frogs (Anura: Microhylidae) in Huai Hong Khrai Watershed, Chiang Mai Province
Authors: แรกขวัญ ผลธัญญา
Advisors: ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
นพดล กิตนะ
วิเชฏฐ์ คนซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: สัตว์วงศ์อึ่งอ่าง
เสียงของสัตว์
พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ (เชียงใหม่)
Microhylidae
Animal sounds
Huai Hong Khrai Watershed (Chiang Mai)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสียงร้องประกาศตนเองของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอันดับกบเขียดถูกเปล่งโดยกบเพศผู้เพื่อใช้ในการดึงดูดและสื่อสารถึงเพศเมียชนิดเดียวกัน ซึ่งข้อมูลที่จำเพาะต่อชนิดนี้อาจเกี่ยวข้องกับกลไกการแบ่งแยกชนิดก่อนการผสมพันธุ์ ดังนั้นเสียงร้องประกาศตนเองจึงสามารถใช้ในการระบุชนิดได้ สำหรับอึ่งในสกุล Microhyla นั้นถูกพบได้โดยทั่วไปในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยทางชีววิทยามากมายเกี่ยวกับอึ่งสกุลนี้ แต่การศึกษาเสียงร้องนั้นยังคงมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งทำให้ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางวิวัฒนาการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของเสียงร้องประกาศตนเอง โดยศึกษาตัวแปรเชิงเวลาและตัวแปรเชิงสเปกตรัมความถี่ของเสียงทั้ง 7 ตัวแปรของอึ่งในสกุล Microhyla จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ อึ่งลายเลอะ (M. butleri) อึ่งข้างดำ (M. heymonsi) อึ่งน้ำเต้า (M. mukhlesuri) และอึ่งขาคำ (M. pulchra) จากนั้นตัวแปรดังกล่าวถูกนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างอึ่งทั้ง 4 ชนิด การเก็บตัวอย่างในภาคสนามทำการสำรวจด้วยวิธี visual encounter surveys ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บตัวอย่างอึ่งอย่างน้อยชนิดละ 5 ตัวอย่าง อึ่งแต่ละตัวจะถูกบันทึกเสียงร้องประกาศตนเอง จากนั้นอึ่งที่ถูกบันทึกเสียงจะถูกเก็บมาเพื่อใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิง ผลการวิเคราะห์การจัดจำแนกเสียงร้องปรากฎว่าเสียงถูกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เสียงร้องที่มีจังหวะเป็นหน่วยย่อยซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ ได้แก่ อึ่งลายเลอะและอึ่งขาคำ และเสียงร้องที่มีโน้ตแบบเดียวกันเป็นหน่วยย่อยซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ ได้แก่ อึ่งข้างดำและอึ่งน้ำเต้า นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ Kruskall-Wallis H Test เผยว่าค่าเฉลี่ยของความถี่เด่น จำนวนโน้ตในเสียงร้อง อัตราของโน้ต ช่วงเวลาของโน้ต จำนวนจังหวะในเสียงร้อง และอัตราของจังหวะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมัน 95 เปอร์เซ็นต์ (p=0.00) ระหว่างอึ่งทุกชนิด ยกเว้นค่าเฉลี่ยช่วงเวลาของเสียงร้องระหว่างอึ่งข้างดำและอึ่งน้ำเต้าที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของข้อมูลพบว่าค่าความแปรปรวนของข้อมูลภายในตัวเองเทียบกับค่าระหว่างตัวอื่นในชนิดเดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกตัวแปรของอึ่งทุกชนิด ซึ่งผลดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการแยกเสียงร้องที่แตกต่างกันระหว่างชนิดซ่อนเร้นได้ รวมไปถึงการใช้เป็นเสียงร้องอ้างอิงในการสำรวจความหลากหลายทางชนิดของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอันดับกบเขียดร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม
Other Abstract: Anuran advertisement call is emitted by male frogs for attracting and conveying potential mating information to conspecific females. This species-specific information is expected to involve in premating isolation mechanism. Hence, the advertisement call can be used for species recognition. Narrow-mouthed frogs in the genus Microhyla are commonly found in Thailand. Studies of their bioacoustics are limited, although there are plenty of other biological researches of them. This might lead to a lack of understanding on their evolutionary process. Taking these into account, this study aims to examine the structure of advertisement call along with seven spectral and temporal parameters in four Microhylid frogs (M. butleri, M. heymonsi, M. mukhlesuri, and M. pulchra). After that, all calling parameters are compared among the four species. Field surveys were conducted from June to December 2020 in Huai Hong Khrai Watershed, Chiang Mai Province. For each species, at least five adult males were observed by visual encounter surveys and recorded their advertisement calls. Then, the calling frogs were collected for voucher specimens. The result of call structure classification analyses presents 2 guilds of call. Firstly, the non-frequency modulated pulsed call of M. butleri and M. pulchra. Secondly, the Non-frequency modulated call with uniform notes of M. heymonsi and M. mukhlesuri. Furthermore, the result of the Kruskall-Wallis H Test revealed significant differences (p=0.00) in the average numbers of dominant frequency, number of notes/call, note rate, note duration, number of pulses/call, and pulse rate among all species, except the call duration between M. heymonsi and M. mukhlesuri is not significantly different. The coefficient of variation analyses revealed that the variation within an individual and among individuals are not significantly different in all parameters of all species. The overall result could be used to clarify distinct calling among cryptic species as well as to be a reference of calls in anuran diversity surveys by collaborating with morphological and genetic analyses.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80417
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-BIO-020_Raekkhwan Po_2563.pdf104.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.