Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80477
Title: การศึกษาแนวทางการแปลคำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า
Other Titles: A study of label translation on facial cleanser packages
Authors: กัฑลี กนกคีขรินทร์
Advisors: ปทมา อัตนโถ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Patama.A@Chula.ac.th
Subjects: ฉลาก -- การแปล
การแปลและการตีความ
Labels -- Translations
Translating and interpreting
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวทางการแปลคำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า โดยศึกษาผ่านการวิเคราะห์คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าซึ่งได้รับการจัดอันดับว่ามีความน่าเชื่อถือสูงสุดในปี 2556 และมีทั้งตัวบทต้นฉบับภาษาอังกฤษและตัวบทฉบับแปลภาษาไทยบนบรรจุภัณฑ์ จากผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อทางการค้า 6 ชื่อ รวมทั้งหมด 34 สูตร ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่า การแปลคำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้านั้นเมื่อวิเคราะห์การแบ่งประเภทตัวบทและองค์ประกอบของตัวบทแล้ว ต้องใช้ทฤษฎีการแปลแบบยึดหน้าที่ (Skopos Theory) ของ Vermeer และทฤษฎีการกระทำการแปล (Translational Action) ของ Holz-Mänttäri ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายและโครงสร้างทางภาษา เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคในวัฒนธรรมปลายทาง ผลการวิจัยพบว่า ตัวบทคำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์จัดอยู่ในประเภทตัวบทเชิงปฏิบัติการ (Operative Text) ซึ่งบทแปลส่วนใหญ่ใช้ทั้งทฤษฎี Skopos และทฤษฎี Translational Action ร่วมกันในการแปล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการถ่ายทอดความหมาย โดยพบว่าบทแปลส่วนใหญ่มีการเพิ่มความหมาย รองลงมาคือการลดความหมาย และการเปลี่ยนแปลงความหมายเดิมจากต้นฉบับตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าบทแปลส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภาษาในระดับประโยค โดยมีการรวมประโยคมากที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับข้อความ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายนั้น นอกเหนือจากทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคตามที่ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้แล้ว ยังประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การตัดสินใจของนักแปล ความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อกำหนดและบทบัญญัติทางกฎหมาย และ ข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับข้อความ
Other Abstract: This special research aims to study label translation on facial cleanser packages by analyzing the labels on the products which are ranked among top ten brands of Thailand in 2013 and contain both source text (English) and translated text (Thai). 34 labels from 6 brands are selected for the study. The hypothesis is that label translation uses Vermeer’s Skopos Theory and Holz-Mänttäri’s Translational Action, which cause changes in meanings and shifts in linguistic structures according to consumers’ attitude and behavior in the target culture. The research shows that most of the texts, being specified as Operative Text, use both Skopos Theory and Translational Action Theory in translation processes, which cause changes in meaning. The major change found in the translated texts is meaning addition. Secondary changes are meaning deletion and meaning change respectively. The shifts in linguistic structures are also found in the majority of translated texts through sentence combination used primarily because of space limitation. The result proves that the hypothesis is right. Moreover, the factors that affect the changes in meaning besides consumers’ attitude and behavior are translators’ decisions, requests from employers, law and regulations, and limitation in text space.
Description: สารนิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การแปลและการล่าม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80477
Type: Independent Study
Appears in Collections:Arts - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kattalee Ka_tran_2013.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.