Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80515
Title: การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ “ใน” ในภาษาไทย
Other Titles: GRAMMATICALIZATION OF /naj/ IN THAI
Authors: เอกชิต สุขประสงค์
Advisors: วิภาส โพธิแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
Thai language -- Grammar
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หมวดคำและความหมายเชิงไวยากรณ์ของคำว่า “ใน” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน ตามปริบททางอรรถวากยสัมพันธ์ และวิเคราะห์กระบวนการ กลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ใน” ตามแนวคิดของไฮเนอและคูเทวา (2007) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลคำว่า “ใน” ในสมัยสุโขทัยจากจารึก 37 หลักตามหนังสือ “ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย” สมัยอยุธยาจนถึงสมัยปัจจุบัน จากจดหมายเหตุ พงศาวดาร บันทึก กฎหมาย ประชุมประกาศ คำให้การ ตำรา พระบรมราชาธิบาย เรื่องสั้น นวนิยาย พระราชสาส์น และพระราชหัตถเลขา รวม 50 เล่ม ซึ่งผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะ 30 หน้าแรกของแต่ละเล่ม และเก็บข้อมูลคำว่า “ใน” ในทุกสมัยที่ปรากฏเป็นคำเดี่ยวเท่านั้น ผลการวิจัย พบว่า คำว่า “ใน” มีทั้งสิ้น 2 หมวดคำ ได้แก่ 1. หมวดคำบุพบท และ 2. หมวดคำเชื่อมนาม นอกจากนี้ คำว่า “ใน” มีทั้งสิ้น 10 ความหมาย ได้แก่ 1. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางพื้นที่แบบปิดล้อม” 2. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเวลา” 3. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางสังคม” 4. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางความเป็นเจ้าของ” 5. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเอกสาร หรือข้อความ” 6. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางบุคคล” 7. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางจำนวน” 8. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางความรู้สึกนึกคิด” 9. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางการกระทำ” และ 10. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเรื่อง ประเด็น หรือหัวข้อ” คำว่า “ใน” เกิดการขยายความหมายเชิงไวยากรณ์ ซึ่งเป็นการขยายความหมายภายในหมวดคำเดียวกัน ความหมายใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากความหมายในสมัยก่อนหน้า มี 8 ความหมาย ได้แก่ 1. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเวลา” 2. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางสังคม” 3. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเอกสารหรือข้อความ” 4. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางจำนวน” 5. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเรื่อง ประเด็น หรือหัวข้อ” 6. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางบุคคล” 7. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางความรู้สึกนึกคิด” และ 8. ความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางการกระทำ” ความหมายที่ 1-7 พัฒนามาจากความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางพื้นที่แบบปิดล้อม” ส่วนความหมายที่ 8 พัฒนามาจากความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางสังคม” และความหมาย “บอกความสัมพันธ์ทางเรื่อง ประเด็น หรือหัวข้อ” ซึ่งความหมายทั้ง 8 ความหมายเหล่านี้เกิดจากกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ 2 กระบวนการ ได้แก่ 1. การขยายขอบเขต และ 2. การจางลงทางความหมาย
Other Abstract: The purpose of this thesis is to analyze the word categories and the grammatical meanings of the word /naj/ from the Sukhothai to the present period and analyze the grammaticalization of the word /naj/ according to the concept of Heine and Kuteva (2007). The data are collected from 37 inscriptions in the Sukhothai period according to the book “The 8th Session Inscriptions, Sukhothai Inscriptions” and in the Ayutthaya-present period from the archives, the chronicles, the records, the laws, the meeting announcements, the testimonies, the texts, the royal strategies, the short stories, the novels, the royal messages and the royal writings, totally 50 volumes. The researcher chooses to study only the first 30 pages of each book and collects only the monomorphemic word /naj/ in every period. It is found that the word /naj/ has 2 word categories, namely preposition and noun phrase connector. In addition, the word /naj/ has 10 grammatical meanings, namely the meaning “spatial relation”, “temporal relation”, “social relation”, “possessive relation”, “textual relation”, “inter-personal relation”, “quantitative relation”, “cognitive relation”, “actional relation” and “topical relation”. The grammatical meaning extension of the word /naj/ appears in the same word category. There are 8 new meanings of the word /naj/ which are added from the past. The meaning “temporal relation”, “social relation”, “textual relation”, “quantitative relation”, “topical relation”, “inter-personal relation”, and “cognitive relation” develop from the meaning “spatial relation”. In addition, the meaning “actional relation” develops from the meanings “social relation” and “topical relation”. These 8 meanings relate to 2 grammatical processes, namely the extension and the semantic bleaching.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80515
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.951
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.951
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arts_Akachit Su_The_2020.pdf171.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.