Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80727
Title: การเปรียบเทียบการขนส่งที่เกิดจากการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล
Other Titles: A comparison of transportation of sea freight container substitution
Authors: ภุมมรัตน์ ล่องพริก
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบริหารงานโลจิสติกส์
ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์
การขนส่งทางน้ำ
Business logistics
Containerization
Shipping
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการขนส่งที่เกิดจากการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์ และ การรอตู้คอนเทนเนอร์ กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งออกสินค้าทางทะเล การวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเลแล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าใช้จ่ายในการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็นในการยอมรับการทดแทนขนาดตู้คอนเทนเนอร์และการรอตู้คอนเทนเนอร์ โดยทำการเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทั้งสองกรณี เพื่อแนวทางเลือกในการตัดสินใจให้กับผู้ส่งออก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ออกส่งร้อยละ 90 จากกลุ่มผู้ตัวอย่าง ภายใต้เงื่อนไขเทอมการค้า FOB ยอมรับการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากมีต้นทุนขนส่งที่เกิดจากการทดแทนตู้คอนเทนเนอร์ที่ต่ำกว่าต้นทุนขนส่งที่เกิดจากการรอในการรอตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกสินค้าได้ทันเวลาตามที่กำหนดไว้ และสินค้าที่ผู้ส่งออกยอมรับการทดแทนตู้นั้น เป็นสินค้าที่ปลายทางต้องการสินค้าเร่งด่วน และสินค้าบริโภคที่เน่าเสียง่าย ส่วนผู้ส่งออกที่ยอมรับการรอตู้คอนเทนเนอร์ ร้อยละ 10 นั้นพบว่าผู้ส่งออกไม่พบต้นทุนขนส่งที่เกิดขึ้นจากการรอคอนเทนเนอร์ เนื่องจาก ผู้ส่งออกมีที่พักเก็บสินค้าแบบไม่ต้องเสียค่าใช้ในการจัดเก็บ โดยสินค้าที่ทำการส่งออกเป็นสินค้าที่น้ำหนักมากเกินไปกว่าที่ตู้ขนาดอื่นจะสามารถรับน้ำหนักทดแทนได้ และผู้ส่งออกไม่ยินยอมการตัดจำนวนสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งปลายทางไม่ได้ต้องการที่สินค้าเร่งด่วน โดยยอมรับการรอส่งออกในเรือลำถัดไปโดยใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 7วันในการรอตู้คอนเทนเนอร์
Other Abstract: The objective of this research is to compare the transportation container substitution and container waiting, a case study of an ocean freight forwarder. The research combines quantitative research, analyzing the cost of land and sea freight costs and using the data to calculate the substitution cost of containers and qualitative research by conducting in-depth interviews about container size substitution acceptance opinions and container waiting. By comparing transport in both cases for the decision of the exporter. The results of the study found that 90% of the exporters from the sample group in FOB terms, container substitution is accepted. This is because the shipping costs of container substitution are lower than the shipping costs associated with waiting for containers. In addition, the goods can be sent out in a timely manner as specified. and goods that the exporter accepts the substitution of that container It is a product that the destination requires urgent goods. and perishable consumer goods For 10% of the exporters who accepted to wait for their containers, it was found that they did not find the shipping costs incurred by waiting for the containers because they had free warehouse to storage goods. The exported goods are those that weigh more than other sizes of containers are able to support the replacement weight. And the exporter does not agree to short packing in the container. In addition, the destination does not require urgent goods. By accepting the waiting to ship out on the next ship for a period of time 7 days for waiting container.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80727
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.241
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.241
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380065120_Pummarat Lon_IS_2564.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.