Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระ เหมืองสิน-
dc.contributor.advisorชูพรรณ โกวานิชย์-
dc.contributor.authorพิชามญช์ เขียวทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2022-11-02T09:39:11Z-
dc.date.available2022-11-02T09:39:11Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80755-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงทำให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูงเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น การเปลี่ยนจากรถแท็กซี่เครื่องยนต์สันดาปภายในมาเป็นแท็กซี่ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ๆอย่างกรุงเทพมหานครได้ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนจากการใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดนี้ จำเป็นต้องมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่เพียงพอเพื่อรองรับความต้องการในการอัดประจุไฟฟ้าของแท็กซี่ในแต่ละพื้นที่ งานวิจัยนี้นำเสนอนวัตกรรมกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทำเลที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถแท็กซี่ไฟฟ้า ตามรูปแบบการเดินทางของแท็กซี่ที่มีลักษณะเฉพาะ กระบวนการในการวิเคราะห์หาทำเลที่เหมาะสมดังกล่าวจะใช้ข้อมูล GPS การเดินทางของแท็กซี่วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลตำแหน่งของสถานีบริการเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยจะพิจารณาจากระยะเวลาในการเดินทางไปถึงสถานีและความต้องการในการอัดประจุไฟฟ้าของแต่ละสถานี ซึ่งการใช้ข้อมูลระยะเวลาในการเดินทางจาก Google Maps Distance Matrix API นั้นมีการคำนึงถึงสภาพการจราจรในปัจจุบัน จึงสามารถลดเวลาการเดินทางโดยรวมไปยังสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ดีกว่าการใช้ข้อมูลระยะทาง งานวิจัยนี้ใช้โมเดลการจัดคิวเพื่อจำลองกิจกรรมการอัดประจุไฟฟ้าและคำนวณหาจำนวนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่เหมาะสมในแต่ละสถานี ผลการวิเคราะห์ตำแหน่งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่เหมาะสมถูกตรวจสอบความแม่นยำโดยใช้ข้อมูลจริงจากการใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมกระบวนการที่นำเสนอสามารถแนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ดีกว่าแนวทางปฏิบัติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบที่นำไปใช้กับการวิเคราะห์ทำเลอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและการบริหารจัดการเพื่อนำต้นแบบนวัตกรรมกระบวนการในการวิเคราะห์ทำเลที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้การเลือกทำเลที่มีความเหมาะสมในติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้ามีขั้นตอนที่ชัดเจน เหมาะสม มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน-
dc.description.abstractalternativeClimate change and global warming have led countries around the world to reduce their use of fossil fuels. As a result, high-carbon-emitting industries such as transportation and automotive are increasingly shifting to electric vehicles. The transition from ICE to BEV taxis is one of the most important methods for reducing fossil fuel consumption and air pollution in cities such as Bangkok. To support this transition, an adequate number of charging stations to cover each area of charging demand must be established. This paper presents a data-driven process for determining suitable charging locations for BEV taxis based on their characteristic driving patterns. The location selection process employs GPS trajectory data collected from taxis and the locations of candidate sites. Suitable locations are determined based on estimated travel times and charging demands. A queueing model is used to simulate charging activities and identify an appropriate number of chargers at each station. The location selection results are validated using data from existing charging services. The validation results show that the proposed process can recommend better locations for charging stations than current practices. By using the traveling time data that take the current traffic condition into account, via Google Maps Distance Matrix API, we can minimize the overall travel time to charging stations of the taxi fleet better than using the distance data. This process can also be applied to other cities. Furthermore, the researcher studied innovation and management acceptances in order to use the process innovation prototype in the analysis of optimal locations for installing electric charging stations and pushed it into commercialization to select an optimal location to install an electric charging station with clear, appropriate, efficient, and cost-effective investment processes.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.636-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEnergy-
dc.titleต้นแบบนวัตกรรมกระบวนการในการวิเคราะห์ทำเลที่เหมาะสมของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถแท็กซี่ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeProcess innovation model of optimal charging station location analysis for electric taxi in Bangkok area-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.636-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887848420.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.