Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80780
Title: | การพัฒนาสารเคลือบป้องกันการติดเชื้อจากซิลเวอร์คอปเปอร์ซีโอไลต์สำหรับวัสดุหนังหุ้ม |
Other Titles: | Development of silver copper zeolite antifouling coating on leather |
Authors: | จิตตมาศ ตรีรัตนภรณ์ |
Advisors: | คเณศ วงษ์ระวี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากสถานการณ์การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ความเป็นไปได้ในที่จะติดเชื้อจากพื้นผิวสัมผัสตามวัสดุที่ต้องเผชิญในชิวิตประจำวันได้รับความกังวลอย่างมาก หนึ่งในวัสดุที่ใช้หุ้มเพื่อสัมผัสที่สำคัญมักจะทำจากวัสดุหนังเช่นเฟอร์นิเจอร์บ้านและเบาะรถยนต์ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจึงมีการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ป้องกันไวรัส อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของสเปรย์มีผลต้านเชื้อในเวลาอันสั้นและยังทำให้ผิวเคลือบวัสดุเสื่อมสภาพง่ายอีกด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานของวัสดุหนังและยืดอายุประสิทธิภาพการต้านเชื้อ สารเคลือบผิวด้วยไอออนทองแดงเงินในโครงสร้างซีโอไลต์ (Ag+CuZeolite) จึงถูกพัฒนาขึ้นด้วยการดัดแปลงไอออนในโพรงซีโอไลต์ให้มีอนุภาคใหญ่ขึ้นเพื่อความเสียรภาพของการต้านเชื้อ ไอออนทองแดงเงินในโครงสร้างซีโอไลต์ที่เปลี่ยนเป็นอนุภาคนาโนถูกเตรียมโดยการลดไอออนของเงินที่ชุบด้วยโซเดียมโบโรไฮไดรด์และกรดแอสคอร์บิค อัตราส่วนของสารรีดิวซ์ต่อซีโอไลต์ในระหว่างกระบวนการลดได้รับการปรับให้เหมาะสมที่สุด จากการสังเกตุด้วยSEM-EDX พบว่าโครงสร้างหลักของซีโอไลต์ถูกทําลายในขั้นต้นเมื่อใช้อัตราส่วนโซเดียมโบโรไฮไดรด์สูง ในทางกลับกันการลดกรดแอสคอร์บิคบน Ag + ที่ชุบในซีโอไลต์จะรักษาโครงสร้างหลักไว้ Ag+CuZeolite มีประสิทธิภาพต้านเชื้อแบคทีเรียE. coli (แกรมลบ) ตามาตรฐานASTM E219-10 ที่ดีกว่า AgNPs ใน CuZeoliteที่ถูกรีดิวซ์จากNaBH4และกรดแอสคอร์บิคตามลำดับ การเคลือบ Ag+CuZeolite เพียงแค่3% ต่อสารละลายเคลือบโพลียูรีเทนบนหนังได้รับการประเมินโดยใช้ ISO21702 ของ Sars CoV2 ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพถึง99.99% ของการต้านเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามความทนทานของต้านเชื้อไวรัสนั้นลดลงอย่างมากภายใต้การสัมผัสสารละลายอัลคาไลน์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเหงื่อคน |
Other Abstract: | Due to pandemic situation of Covid-19, the infection possibility from daily touched-surface have been concerned. One of major touched material was leather covering for furniture and car seats. To avoid the infection, anti-virus spray has been used, however, the efficiency of the spray affect in short time and deteriorated material coating. To extend lifetime of leather and prolong antifouling, antifouling coated agent by silver copper ion in zeolite was developed with some modification for stability of antifouling. The silver copper ion in zeolite transformed to nanoparticles were subsequently prepared by reducing the impregnated Ag+ with sodium borohydride and ascorbic acid. The ratio of the reducing agent to the zeolite during the reduction process were optimized. By SEM-EDX, it was found that main structure of zeolite was initially destroyed when high ratio of NaBH4 has been used and the reduction of ascorbic acid on the impregnated Ag+ in zeolite will preserve main structure. The Ag+CuZeolite have better antibacterial effectiveness of E. coli (Gram negative) as ASTM E2149-10 than AgNPs in CuZeolite reduced by NaBH4 and ascorbic acid, respectively. Coated Ag+CuZeolite 3% in PU base coating solution on leather was evaluated by using ISO21702 of Sars CoV2 which 99.99% of antifouling effectiveness. However, the durability of the antifouling usage was dramatically decreased under alkaline soaking (representative of people sweat). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80780 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.632 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.632 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380153720.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.