Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80781
Title: | นวัตกรรมแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ |
Other Titles: | Innovative tourism platform in Rattanakosin island for international tourists |
Authors: | พิมพ์ใจ ทวิติยามัณฑ์ |
Advisors: | อินทิรา พรมพันธุ์ วรรณัย สายประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้เพื่อศึกษาศึกษาพฤติกรรมและความต้องการการใช้แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยว บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 258 ตัวอย่าง ในเรื่องของพฤติกรรมและความต้องการใช้แพลตฟอร์ม พบว่า นักท่องเที่ยวเคยมาท่องเที่ยวเมื่องไทย 1 ครั้งมากที่สุดร้อยละ 42.2 รองลงมา 2-3 ครั้งร้อยละ 41.5 วัตถุประสงค์เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อนร้อยละ 33.9 และใช้งบประมาณในการท่องเที่ยวรวมถึงค่าเครื่องบิน จำนวน 2,001 – 3,000 เหรียญสหรัฐ นักท่องเที่ยวร้อยละ 41.1 เข้าพักโรงแรมมากที่สุดร้อยละ 81.7 ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 4-6 วันร้อยละ 34.1 วางแผนท่องเที่ยวด้วยตนเองร้อยละ 80.6 และค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก่อนการเดินทางโดยผ่านเว็บไซต์ www.google.com มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.42 สถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องที่ยวสนใจมากที่สุด คือ ย่านเยาวราช ค่าเฉลี่ย 4.48 รองลงมาคือพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้วมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.38 และทำการทดสอบ t-test เปรียบเทียบเพศและสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า เพศไม่มีความแตกต่างในด้านความสนใจของสถานที่ท่องเที่ยว และได้ทำการทดสอบ f-test ทดสอบนักท่องเที่ยวที่มีสัญชาติต่างกันจะมีความสนใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวแตกต่างกัน พบว่า นักท่องเที่ยวสัญชาติยุโรปมีความสนใจในวัดต่างๆ มากกว่านักท่องเที่ยวชาวเอเชียอย่างมีนัยสำคัญที่0.05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสอบถามความคิดเห็นเชิงลึกและแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมแพลตฟอร์มนี้จากผู้ประกอบการ เช่น ร้านค้า โรงแรมที่พัก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม และผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ผู้ประกอบการเห็นด้วยกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว ที่จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และช่วยเป็นช่องทางทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้น เน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) ที่มีแนวคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ที่ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี ที่พัก ร้านอาหาร บริการต่างๆ และสามารถจองมัคคุเทศก์ รถรับส่ง นอกจากนี้ยังได้แนะนำเส้นทางการเดินเท้าเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 เส้นทางพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว เส้นทางที่ 2 เส้นทางวัดชนะสงครามและย่านบางลำพู เส้นทางที่ 3 วัดราชนัดดาและวัดสุทัศน์ เส้นทางที่ 4 ดิโอลด์ สยามและย่านพาหุรัด และได้นำแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ ไปสอบถามความพึงพอใจการใช้แพลตฟอร์ม ได้ความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกประเด็น และได้รับความพึงพอใจสูงสุดคือ แพลตฟอร์มมีสีสันและการออกแบบที่มีความดึงดูดรวมไปถึงการจัดการวางรูปแบบหน้าจอมีความน่าสนใจ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.82 |
Other Abstract: | This research studied foreign tourists' behaviors and needs regarding the use of tourism platforms while traveling in Rattanakosin Island area, Bangkok Thailand. To develop a tourism platform of the Rattanakosin Island area, both quantitative and qualitative research approaches were developed. For the quantitative approach, this study collected a dataset from the questionnaire instrument with a total of 258 foreign tourists participating. The results showed that in terms of travel behaviors, 42.2 percent of tourists visited Thailand once, followed by 2-3 times (41.5%). 33.9 percent of foreign tourists traveled to Thailand for vacation purposes. These tourists spent about $2,001-3,000 on the trip (including airfare), 41.1% of them stayed in hotels, and 81.7% of them spent 4-6 days of travel time. 80.6 percent of foreign tourists planned their own trips and searched for travel information on the Internet via websites such as www.google.com. Furthermore, there were many attractions in Rattanakosin Island area, and the most visiting was Yaowarat, with an average mean value of 4.48 (out of 5-point scale), followed by the Grand Palace and Wat Phra Kaew as the second most popular attractions with the same mean value of 4.38 respectively. Furthermore, a T-test was conducted to examine any different tourists’ perceptions of major attractions in Rattanakosin Island area. The survey showed that European tourists perceived more positively of various temples than Asian tourists did. However, there was no mean difference in tourists’ perceptions of major attractions in Rattanakosin Island area by their gender. For the qualitative approach, the researchers collected in-depth information from entrepreneurs (e.g., shop owners, hoteliers, and restauranters) by using the interview method. It was to receive insights and ideas on innovating this platform. The results found that the entrepreneurs agreed with the presence and design of a tourism platform. This platform helped induce tourists to travel to the Rattanakosin Island area. This platform also functioned as a marketing channel for the entrepreneurs, who had limited knowledge of technology development and applications for their own tourism-related businesses. For the application, the developed travel platform supplemented the concept of cultural tourism by providing tourist information such as history, culture, traditions, boutique accommodation, authentic restaurants, booking guides, and local transportation (Tuk Tuk). The platform recommended four walking routes for cultural tourism experiences for foreign tourists: Route 1 - the Grand Palace route, and Wat Phra Kaew along the way; Route 2 - Wat Chana Songkhram, and Bang Lamphu Area; Route 3 - Wat Ratchanadda, and Wat Suthat; and Route 4 - The Old Siam and Phahurat Area. Lastly, for the satisfaction level of this tourism platform, the entrepreneurs were satisfied with all functions of the platform, especially with the color used, creative design, and layouts. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80781 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.637 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.637 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380170320.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.