Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80819
Title: การวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
Other Titles: Finite element analysis of tempered glass with safety film subjected to blast loading
Authors: สิรวิชญ์ อัครสุต
Advisors: วิทิต ปานสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางทรัพย์สินและชีวิต อันตรายจะเกิดมากยิ่งขึ้นหากบริเวณที่เกิดการระเบิดมีกระจก มีเหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ทำให้กระจกบริเวณอาคารราชการได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีเศษกระจกที่ก่อให้เกิดอันตรายได้เนื่องจากมีการติดตั้งฟิล์มนิรภัยในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำเสนอการวิเคราะห์กระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยภายใต้แรงระเบิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อทำนายพฤติกรรมของกระจกเทมเปอร์และสามารถจำลองพฤติกรรมกระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัย งานวิจัยเริ่มต้นจากการสร้างแบบจำลองกระจกเทมเปอร์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมต์เพื่อพิจารณาผลของน้ำหนักกระทำแบบแผ่กระจายสม่ำเสมอ และแรงระเบิดและตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองกับการทดสอบในอดีต จากนั้นสร้างแบบจำลองกระจกเทมเปอร์ติดฟิล์มนิรภัยตามกรณีศึกษา โดยเริ่มจากระยะการระเบิด 1 m, 2 m และ 4 m โดยแรงระเบิด TNT เริ่มที่ 1 kg และทำการเพิ่มแรงระเบิดขึ้นจนกว่าฟิล์มนิรภัยจะขาด เพื่อหาแรงระเบิดสูงสุดที่ฟิล์มสามารถทนได้ ผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่า ที่ระยะระเบิด 2 m ฟิล์มจะขาดเมื่อระเบิดมีขนาด 2 kg และที่ระยะระเบิด 4 m ฟิล์มจะขาดเมื่อระเบิดมีขนาด 6 kg โดยมีค่าโก่งตัวที่จุดศูนย์กลางแผ่นกระจกอยู่ที่ประมาณ 140 mm
Other Abstract: Explosions from the past to the present have resulted in the loss of property and lives. More dangerous if the blasting area has glass. Government buildings in Oslo, Norway suffered glass damage because of an explosion, however, no dangerous glass fragments were present because the safety film was installed there. This research presents finite element analysis of tempered glass with safety film subjected to blast loading. To predict the behavior of tempered glass and be able to simulate the behavior of tempered glass with safety film. The research first develops the finite element model of tempered glass to determine the effect of uniform loading and blast loading. The results were validated by the previous experimental test. Then, the researcher developed the finite element model of tempered glass with safety film based on the case study. Starting from the explosion distance of 1 m, 2 m and 4 m using TNT explosive weighing starting at 1 kg and increasing the blast until the safety film is breaking. To determine the maximum strength of safety film. The results showed that at a standoff distance 2 m safety film breaks when TNT explosive weighing is 2 kg, and at a standoff distance 4 m safety film breaks when TNT explosive weighing to 6 kg with a deflection at the center of glass about 140 mm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80819
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.933
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.933
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270293421.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.