Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80858
Title: | นวลักษณ์ของนิราศในนิราศนครวัด |
Other Titles: | The novelty of Nirat in Nirat Nakhonwat |
Authors: | ธีธัช สุเมธสวัสดิ์ |
Advisors: | อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างนวลักษณ์ของนิราศในนิราศนครวัด พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและศึกษาความสำคัญของนวลักษณ์ต่อวรรณกรรมในสมัยต่อมาโดยใช้แนวคิดเรื่องนวลักษณ์ อารมณ์โหยหาอดีต และวาทกรรมในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นวลักษณ์ของนิราศที่ปรากฏในนิราศนครวัดประกอบด้วย นวลักษณ์ด้านรูปแบบ นิราศนครวัดแต่งเป็นร้อยแก้วอย่างบันทึกการเดินทางรายวันโดยใช้กลอนนิราศขึ้นต้นเรื่องเป็นคำนำ ลักษณะการแต่งแบบร้อยแก้วเป็นการขจัดข้อจำกัดในการเล่าเรื่องซึ่งเกิดจากข้อบังคับเรื่องเสียงและคำจากฉันทลักษณ์ร้อยกรอง ส่งผลให้ผู้ทรงพระนิพนธ์เล่าเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ นวลักษณ์ด้านเวลา นิราศนครวัดมีการลำดับเวลาที่ต่างไปจากเวลาในนิราศตามขนบซึ่งดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศจากโลกจริง กล่าวคือ ประกอบด้วยมุมมองการเล่าจากอนาคตด้วยกระบวนการจัดเตรียมและแก้ไขต้นฉบับให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกนอกตัวบท แสดงถึงพันธะผูกพันที่แยกกันไม่ได้ระหว่างตัวบทกับโลกจริง นวลักษณ์ด้านการครวญและการโหยหาอดีต นิราศนครวัดแสดงการโหยหาอดีตถึงความยิ่งใหญ่รุ่งเรืองของสยามผ่านการครวญถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรซึ่งมีองค์อธิราชเป็นศูนย์กลาง ความเจริญของพระพุทธศาสนา และความเจริญของศิลปวัฒนธรรมรวมถึงสถาปัตยกรรม ต่างไปจากการครวญในนิราศซึ่งแต่เดิมเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของกวีถึงนางผู้เป็นที่รัก นวลักษณ์ด้านกลวิธี นิราศนครวัดมีลักษณะเป็นเรื่องเล่า ไม่ใช่ห้วงคำนึงกระจัดกระจายปราศจากเรื่องราวแบบคีตกานต์ในนิราศตามขนบ ความรู้ที่ปรากฏในนิราศนครวัดมีลักษณะเป็นวาทกรรม คือเป็นชุดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัมพูชา โดยที่ถ้อยแถลงเกี่ยวกับกัมพูชาได้รับการเรียงร้อยเป็นหน่วยที่มีเอกภาพ วาทกรรมเกี่ยวกับกัมพูชาที่ปรากฏในนิราศนครวัด ได้แก่ ภาพดินแดนที่อยู่ในอำนาจของไทยและฝรั่งเศสและภาพดินแดนแห่งอารยธรรมโบราณ สิ่งที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในนิราศนครวัดได้รับการยอมรับและอ้างถึงในงานเขียนสมัยหลังอย่างกว้างขวาง เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของนวลักษณ์นิราศในนิราศนครวัดกับวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทการเดินทางไปกัมพูชาสมัยต่อมา พบว่าตัวบทที่แต่งขึ้นในสมัยหลังมีทั้งกลุ่มที่รูปแบบการแต่งเป็นไปตามความนิยมเดิม คือแต่งเป็นบันทึกการเดินทางรายวัน และกลุ่มที่แต่งเป็นงานเขียนรูปแบบประสมประสาน งานกลุ่มนี้ปรากฏการสะท้อนคิดใคร่ครวญและการโหยหาอดีตแบบนิราศ เป็นการโหยหาบ้านเมืองและระบอบการปกครองในอุดมคติ การแสดงความนิยมชาติ เนื้อหาที่นิยมกล่าวถึง ได้แก่ การบรรยายความยิ่งใหญ่ของโบราณสถาน การกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับกัมพูชา การแสดงทัศนคติต่อกัมพูชา ตัวบทบางเรื่องยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์กัมพูชากับผู้เดินทางชาวไทย |
Other Abstract: | This research aims to study the construction of Nirat novelty in Nirat Nakhonwat, a work by Prince Damrong Rajanubhab, and the significance of novelty on travel writings in later periods using Novelty, Nostalgia and Discourse as interpretative framework. The finding reveals that Nirat novelty in Nirat Nakhonwat consists of 4 characteristics. Novelty of form: Nirat Nakhonwat was composed in diary-travelogue prose preceded by Nirat poetry as preface. Written in prose, Nirat Nakhonwat is free from limitations concerning uses of sounds and metrical foots imposed by prosody, so the author’s narration is independent. Novelty of time: Time in Nirat Nakhonwat is different from that in conventional nirats where time exists independently from the real world; that is, it includes narrational perspective from the future brought about by the process of manuscript preparation and edition to keep the text updated in accordance with changed facts in the real world, conveying inseparable bond between the text and the real world. Novelty of contemplation and nostalgia: Nirat Nakhonwat expresses nostalgia for mightiness and prosperity of Siam through contemplation on vastness of the kingdom with kings in the center, thriving Buddhism, arts, cultures and architectures. This characteristic is different from lamentation in conventional nirats where emotional expressions are directed from authors to their loved ones. Novelty of technique: Nirat Nakhonwat is narrative, not separate fragmented reflections in absence of story like lyric poetry in conventional nirats. Knowledge in Nirat Nakhonwat has traits of discourse; that is, it presents sets of knowledge and understanding on Cambodia with statements about Cambodia arranged in unity. Discourses on Cambodia in Nirat Nakhonwat include the image of land under the control of Siam and France and the image of an ancient civilization hub. The knowledge that Prince Damrong Rajanubhab stated in Nirat Nakhonwat has been widely referred to in later works. Considering the relationship between Nirat novelty in Nirat Nakhonwat and travel writings narrating journeys to Cambodia in later periods, the texts written after Nirat Nakhonwat include both writings composed based on conventional trend, namely dairy-travelogue style, and those composed in the style that lies the combination of several genres’ literary techniques. The texts in this group have reflections, contemplations and nostalgia in Nirat style, including yearning for ideal society and political system, expression of national affection. Prevalent contents include depicting the greatness of archaeological sites, mentioning history of the relationship between Siam and Cambodia, showing attitudes towards Cambodia. Certain texts in this group reflect the relationship between Cambodian Royal Family and Thais who traveled to Cambodia. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80858 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.784 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.784 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180133722.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.