Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80868
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุนทินี สุวรรณกิจ-
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์พงศ์สถาบดี-
dc.contributor.authorปิยรัตน์ดา จันทราพานิชกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-03T02:07:09Z-
dc.date.available2022-11-03T02:07:09Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80868-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557-
dc.description.abstractงานวิจัยศึกษาความเป็นพิษของควันจากการเผากระดาษไหว้เจ้า เพื่อหาแนวทางหรือวิธีการในการลดความเป็นพิษนั้น ผลการศึกษาพบว่า กระดาษไหว้เจ้าที่มีการใช้กันมากและมีตะกั่วเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่ากระดาษชนิดอื่นคือ กระดาษกิมจั่วซึ่งมีตะกั่วอยู่ 2.8 ppm นอกจากนี้ยังพบซัลไฟด์ซึ่งอาจทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เมื่อนำกระดาษไปเผา จากการนำวัตถุดิบที่ใช้ผลิตกระดาษมาวิเคราะห์ พบว่ามีการปนเปื้อนของตะกั่วและซัลไฟด์ในเยื่อกระดาษ แต่พบในปริมาณที่ต่ำกว่าในกระดาษที่ผลิตแล้ว จึงสันนิษฐานว่ามีการสะสมของตะกั่วและซัลไฟด์ในกระบวนการผลิตกระดาษที่มีการนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในระบบ ดังนั้นการจัดการน้ำหมุนเวียนในกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเผากระดาษไหว้เจ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงทดลองใช้แร่มอนต์มอริลโลไนในการกำจัดตะกั่วและซัลไฟด์ที่อยู่ในน้ำที่หมุนเวียนในระบบ เนื่องจากแร่ดังกล่าวมีคุณสมบัติในการดูดซับทั้งไอออนบวก (Pb2+) และไอออนลบ  (S2-) ซึ่งพบว่าในน้ำที่มีตะกั่ว 10 มิลลิกรัมต่อลิตร และซัลไฟด์ 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส pH 4.6 เมื่อปริมาณมอนต์มอริลโลไนต์มากขึ้นความสามารถดูดซับตะกั่วลดลง ในขณะที่ความสามารถในการดูดซับซัลไฟด์เพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ผลการทดสอบทางด้านเทอร์โมไดนามิกการดูดซับมอนต์โมริลโอไนต์จะสามารถดูดซับสารตะกั่วและซัลไฟด์ในช่วงอุณหภูมิที่ทำการทดลองเสมอ และในการทดลองขึ้นเยื่อกระดาษที่จำลองการปนเปื้อนสารตะกั่วและการกำจัดสารตะกั่วด้วยมอนต์โมริลโอไนต์พบว่า กระดาษและขี้เถ้าจากเยื่อกระดาษที่จำลองการกำจัดตะกั่วจะมีปริมาณที่ลดลง  ดังนั้นจึงสามารถยืนยันได้ว่ามอนต์โมริลโลไนต์มีความสามารถในการดูดซับตะกั่วและซัลไฟด์ได้จริง-
dc.description.abstractalternativeThis research studied the toxicity of smoke from joss paper burning to achieve guideline or methods for toxicity reduction. It was found that Kim-Chua which was widely used contained the highest amount of lead at 2.8 ppm. Sulfur which can turn into sulfur dioxide was also found in this type of paper. Lead and sulfur were also found in pulp which was used as a raw material, though at a smaller amount.  It was possible that lead and sulfur accumulated in the white water circulation system.  Therefore, waste water management is very important in making environmental-friendly joss paper. In this research, montmorillonite was used to remove lead and sulfur in whitewater as it is a good adsorbent for cation (Pb2+) and anion (S2-). In the solution contained 10  mg/l lead and  400 mg/l sulfur at 25ºC, pH 4.6, it was found that an increased amount of montmorillonite resulted in a  decrease  of  adsorption  capacity  of  lead and increased  adsorption capacity  of sulfur. From  the thermodynamic studies, it was  found that the adsorption process was endothermic and spontaneous. When the pulp contaminated with lead and sulfur was treated with montmorillonite and formed into paper, the amount of lead in the paper and its ash after burning was reduced.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationChemistry-
dc.titleการลดความเป็นพิษของควันจากการเผากระดาษไหว้เจ้า-
dc.title.alternativeToxicity reduction of smoke from joss paper burning-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572047223.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.