Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81083
Title: ผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
Other Titles: Effects of hypotonic and isotonic sport drinks on aerobic capacity and total body water status in habitually active subjects
Authors: ชัยพฤกษ์ สุวรรณจักร์
Advisors: คุณัญญา มาสดใส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเปรียบเทียบผลของเครื่องดื่มกีฬาไฮโปโทนิกและไอโซโทนิกต่อความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกายในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 17 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี โดยแบ่งการออกกำลังกายออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา จากนั้นผู้เข้าร่วมจะได้รับเครื่องดื่มแบบสุ่มในปริมาณ 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวที่หายไปหลังการออกกำลังกายที่ 1 และพักเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นจะทำการทดสอบการออกกำลังกายระดับสูงสุด โดยจะแบ่งเครื่องดื่มออกเป็นทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ เครื่องดื่มหลอก เครื่องดื่มไอโซโทนิก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิก โดยที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้ารับการออกกำลังกายทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรหลังออกกำลังกายได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยาและข้อมูลพื้นฐาน ตัวแปรด้านการหายใจและใช้พลังงาน ตัวแปรด้านการทำงานของหัวใจ ตัวแปรด้านสมรรถภาพความทนทาน ตัวแปรกลุ่มชีวเคมีในเลือด นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรของการทดลองในแต่ละครั้งโดยทดสอบการเปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้ Fisher’s Least Significant Difference Test (LSD) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p<0.05) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของเครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิดที่ส่งผลความสามารถทางแอโรบิกและภาวะน้ำในร่างกาย พบว่าค่าความเข้มข้นภายในเลือด (Plasma Osmolality) ในช่วงที่ได้รับเครื่องดื่มก่อนเริ่มการออกกำลังกายที่ 2 ความเข้มข้นของเลือดในเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มหลอก และเครื่องดื่มไฮโปโทนิกมีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มไอโซโทนิก ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกันของความเข้มข้นของเลือดระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโปโทนิก ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 เมื่อดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิก เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงการก่อนการออกกำลังกายที่ 2 ค่าระดับโซเดียมและคลอไรด์ในเลือดในระหว่างการดื่มเครื่องดื่มไอโซโทนิกมีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มอีก 2 ชนิด ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ของเครื่องดื่มไฮโปโทนิกในช่วงก่อนและหลังการออกกำลังกายที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก (P<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเครื่องดื่มหลอกและเครื่องดื่มไอโซโทนิก จากผลการศึกษาวิจัยนั้นพบว่าเครื่องดื่มไฮโปโทนิกนั้นทำหน้าที่ทดแทนน้ำได้ดีโดยจะเน้นไปที่การทดแทนสารน้ำให้กับร่างกายหลังจากการออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงซ้ำได้โดยที่ไม่ส่งผลให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งยังคงรักษาระดับอิเล็กโทรไลท์รวมถึงสารชีวเคมีในเลือดต่างๆให้อยู่ในระดับปกติโดยที่ไม่ต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่สูง
Other Abstract: Effects of isotonic and hypotonic drinks in between repeated endurance exercises on fluid balance, blood glucose, lactate levels and performance in young healthy subjects. Seventeen healthy young active males, aged between 18-25 years old, participated in two subsequent cycling exercises. Following the first high intensity intermittent cycling (Ex1), the 1-hour recovery duration was allowed. The three solutions of placebo (Placebo), ID (Isotonic drink), and HD (Hypotonic drink) were then randomly assigned in the 1.5 folds of weight reduction from exercise 1. The progressive load up to exhaustion cycling (EX2) was tested. The results of this study demonstrated that when compared between the three solution drinks, Plasma osmolality increase significantly when resting after EX1. Plasma osmolality in ID had increased significantly compared with Placebo, and HD had decreased significantly compared with ID but no different between HD and Placebo, blood glucose has increased significantly in ID compared with placebo and HD, sodium and chloride in ID has increased significantly campared with Placebo and HD before and after EX2, triglyceride before and after EX2 in HD had differents compared with ID and placebo In conclusion, Hydration status and changes in blood-related metabolites were determined using urine specific gravity and plasma osmolality, blood glucose and lactate concentrations. Physical performance was determined from time-to-exhaustion during EX2. HD and ID provided the similar euhydration status, without any difference in performance. During the subsequent exhaustive exercise, neither HD nor ID exerts any distinction of fluid balance, blood glucose, lactate, and performance
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81083
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.831
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270002039.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.