Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81137
Title: การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว: กรณีศึกษา โปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร
Other Titles: Improving human resources management to an agile organization: a case study of the HR chatbot program of HR division at Customs Department
Authors: จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา
Advisors: ศิริมา ทองสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมศุลกากรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีความคล่องตัว (Agile Organization) 2) วิเคราะห์รูปแบบของการให้บริการข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลแก่ผู้รับบริการของกรมศุลกากร และ 3) นำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐ ผลการศึกษา พบว่า 1) กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้องค์การเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถ พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นไปตามแนวทางของแผนระดับประเทศ 2) การพัฒนาโปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติ Dada HR Chatbot สร้างความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการข้อมูลด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่บุคลากร ทำให้องค์การมีความคล่องตัวมากขึ้น ในด้านการใช้งาน บุคลากรสามารถสอบถามข้อมูลได้ทั้งการพิมพ์ถามตอบ หรือกดปุ่มในประเด็นที่ต้องการ และ 3) แนวทางการพัฒนาและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับบริบทในภาครัฐไทย มีความคาดหวังว่า องค์การจะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการให้บริการมากที่สุด เช่น การเพิ่มช่องทางในการให้บริการข้อมูลพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรรมการทำงานให้กับบุคลากรภายในมากขึ้น 
Other Abstract: The objectives of this study were 1) to examine situations and guidelines to adjust human resources management process of HR Division at Customs Department to be an agile organization, 2) to analyze a model of human resources information system for service receivers at Customs Department, and 3) to develop suitable guidelines for the adjustment of human resources management process in the context of Thailand’s public sector. The findings showed as follows: 1) HR Division has improved working process to become more agile and be able to offer faster service. HR Division has also enhanced the employees’ knowledge, skills, competence, and adaptability to change in the future, which was in line with the National plan. 2) The developed Dada HR Chabot has offered the personnel convenience and fast service in information-giving about social welfare and benefits. Consequently, this increased the organization’s agility. In terms of usage, the personnel can have access to information through either Chatbots or button clicks for specific inquiries. 3) For suitable guidelines for the adjustment of human resources management process in the context of Thailand’s public sector, it is expected that the organization would be able to response to the needs of people as much as possible regarding service providing, for instance, offering multi-channel information access, enhancing the personnel’s knowledge and technology skills, and creating more innovation in the workplace. 
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81137
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.389
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.389
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380018824.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.